ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ (2550/2007) พ.ศ. 2114 “สมเด็จพระมหาธรรมราชา” ซึ่งพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อจากพระมหินทราธิราชได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นอุปราชครองเมืองพิษณุโลก เมื่อพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองสวรรคตในปี พ.ศ. 2124 “พระเจ้านันทบุเรง” ขึ้นเสวยราชย์สืบแทน และสถาปนาพระโอรส “มังสามเกียด” ขึ้นเป็น “พระมหาอุปราชา” รัชทายาท ในการนี้เจ้าเมืองประเทศราชทั้งหลายต้องมาร่วมแสดงความสวามิภักดิ์ รวมถึงพระมหาธรรมราชาและสมเด็จพระนเรศวรด้วย ในขณะที่เจ้าฟ้าเมืองคังไม่ได้เสด็จมาร่วมพระราชพิธีสำคัญครั้งนี้ เป็นเหตุให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงทรงมอบหมายให้พระมหาอุปราชา, พระราชนัดดา “นัดจินหน่อง” พระโอรสเจ้าเมืองตองอู, และสมเด็จพระนเรศวรช่วยกันเข้าตีเมืองคัง แต่พระมหาอุปราชากลับสั่งให้สมเด็จพระนเรศวรเข้าตีเป็นทัพสุดท้าย ด้วยความมั่นใจว่าทัพของพระองค์และนัดจินหน่องจะประสบความสำเร็จ แต่ปรากฏว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงมีชัยชนะในศึกเมืองคังนี้ สามารถจับตัวเจ้าฟ้าเมืองคังและพระธิดา “เลอขิ่น” กลับมาได้ รัชทายาทหงสาวดีและราชนิกูลฝ่ายพม่าซึ่งเป็นคู่ปรับกันมาตั้งแต่เยาว์วัยจึงขุ่นเคืองอาฆาตสมเด็จพระนเรศวรเป็นทวีคูณ ต่อมาเมื่อเกิดศึกอังวะ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงให้สมเด็จพระนเรศวรนำทัพมาช่วยรบ แต่พระมหาอุปราชากลับใช้โอกาสนี้วางแผนลอบปลงพระชนม์ ในขณะที่สมเด็จพระนเรศวรทรงยั้งทัพอยู่ ณ เมืองแครง แต่ข่าวการลอบปลงพระชนม์ได้ล่วงรู้ถึงสมเด็จพระนเรศวรผ่านทางพระมหาเถรคันฉ่อง สมเด็จพระนเรศวรจึงถือเหตุการลอบปลงพระชนม์ในการประกาศอิสรภาพตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดี และกวาดต้อนชาวไทยชาวมอญกลับคืนพระนคร ฝ่ายหงสาวดีเมื่อทราบว่าการลอบปลงพระชนม์ไม่สำเร็จจึงให้นายทัพสุระกำมาเร่งนำทัพออกติดตามทัพของสมเด็จพระนเรศวร ในที่สุดก็ทัพหงสาวดีก็ตามมาถึงในขณะที่สมเด็จพระนเรศวรและไพร่พลกำลังข้ามแม่น้ำ และศึกครั้งนี้สมเด็จพระนเศวรทรงใช้พระแสงปืนต้นยิงข้ามแม่น้ำสะโตงถูกแม่ทัพสุระกำมาตายบนคอช้าง ทัพพม่าจึงล่าถอยกลับไป

นักแสดงและทีมงาน

เบิร์ด วันชนะ สวัสดี

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ปีเตอร์ นพชัย ชัยนาม

ออกพระราชมนู / บุญทิ้ง

ต๊อด วินธัย สุวารี

สมเด็จพระเอกาทศรถ

ตั๊ก นภัสกร มิตรธีรโรจน์

พระมหาอุปราชา (มังสามเกียด)

เอก สรพงศ์ ชาตรี

พระมหาเถรคันฉ่อง

นก ฉัตรชัย เปล่งพานิช

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

ต้น จักรกฤษณ์ อำมรัตน์

พระเจ้านันทบุเรง

เกรซ มหาดำรงค์กุล

พระสุพรรณกัลยา

ชุมพร เทพพิทักษ์

ฟ้าเสือต้าน (เจ้าฟ้าเมืองคัง)

แอ๊ด โกวิท วัฒนกุล

ขุนรัตนแพทย์

หมู สมภพ เบญจาธิกุล

พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง

คาซุกิ ยาโนะ (Yano Kazuki)

ออกญาเสนาภิมุข

ต่อลาภ กำพุศิริ

ออกญาสุโขทัย

ธนา สินประสาธน์

ออกญาสีหราชเดโช

อภิชาติ อรรถจินดา

ออกญากำแพงเพชร

แอ๊ว อำภา ภูษิต

ท้าววรจันทร์

โอ๋ อานนท์ สุวรรณเครือ

พระยาพิชัยรณฤทธิ์

ตุ๊ก เดือนเต็ม สาลิตุล

หญิงชรานัยน์ตาบอด

คมน์ อรรฆเดช

ออกญาท้ายน้ำ

ราวิน บุรารักษ์

พระยาพิชัยสงคราม

พยัคฆ์ รามวาทิน

พระยาพิชิตรณรงค์

เรืองยศ โกมลเพ็ชร

ซักแซกยอถ่าง

บีเจ ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์

พระนเรศวร (วัยเด็ก)

เก้า จิรายุ ละอองมณี

บุญทิ้ง (วัยเด็ก)

ดาด้า สุชาดา เช็คลีย์

มณีจันทร์ (วัยเด็ก)

กํากับการแสดง

อาร์ต

กสิ แพ่งรอด

กำกับศิลป์

โปรดักชั่น

ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล

ออกแบบงานสร้าง

อานุภาพ บัวจันทร์

ควบคุมงานสร้างฉาก

ศิริวัฒน์ ท้าวประยูร

ควบคุมงานสร้างฉาก

ทวีศักดิ์ ทศพร

ควบคุมงานสร้างฉาก

คุณากร เศรษฐี

อำนวยการสร้าง

ข้อมูลเพิ่มเติม

ดู ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ (2550) trueid
ชื่อ : ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ
Name : The Legend of King Naresuan 2
วันที่เข้าฉาย : 15 กุมภาพันธ์ 2550
วามยาว : 165 นาที
เรท :
*ภาพยนตร์เรื่องนี้ภาคที่สองของภาพยนตร์ไทยภาคชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นผลงานการผู้กำกับภาพยนตร์โดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล มีการสร้างถึง 6 ภาค ดังนี้
     องค์ประกันหงสา (2550)
     ยุทธนาวี (2554)
     ศึกนันทบุเรง (2554)
     ยุทธหัตถี (2557)
     อวสานหงสา (2558)
เป็นคนแรกที่รีวิว “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ”

ยังไม่มีรีวิว

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ