ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง (2554/2011) เรื่องราวอันเป็นผลจากการปราชัยของหงสาวดีในคราวศึก พระยาพะสิม และ พระเจ้าเชียงใหม่ ซึ่งทำให้ พระเจ้านันทบุเรง ทรงตระหนักในพระปรีชาสามารถของ สมเด็จพระนเรศวร และในความเข้มแข็งของกองทัพอยุธยา จึงทรงยกทัพใหญ่เป็นทัพกษัตริย์มาย่ำยีราชธานีสยามหวังให้ราบเป็นหน้ากลองเพื่อเป็นการแก้มือ และเพื่อรักษาซึ่งพระเกียรติยศ มิให้เป็นที่ดูแคลนแก่เหล่าเจ้าประเทศราชในการปกครองของฝ่ายพม่า กองทัพกษัตริย์ของ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง มีความสมบูรณ์ยิ่งใหญ่น่าเกรงขามกว่าทุกศึก ประกอบด้วยช้าง 3,200 ทัพม้า 12,000 และไพร่ราบซึ่งมีจำนวนถึง 252,000 โดยมีนายทัพผู้ปรีชาสามารถมาร่วมรบ ทั้ง พระมหาอุปราชา มังจาปะโร และลักไวทำมูทหารกล้า กิตติศัพท์ความยิ่งใหญ่น่าเกรงขามของทัพหงสาวดีที่ยกเข้ามานี้ ส่งผลให้เจ้าเมืองในขอบขัณฑสีมาของราชอาณาจักรอยุธยาข้างฝ่ายเหนือประหวั่นพรั่นพรึงถึงกับสมคบคิดกัน แปรพักตร์เข้าสมานสมัคร พระเจ้านันทบุเรง รบ สมเด็จพระนเรศวร เป็นเหตุให้ สมเด็จพระนเรศวร ต้องเผชิญทั้งศึกนอกและศึกใน สถานการณ์กลับยิ่งบีบคั้นให้คับขันยิ่งขึ้น เมื่อ พระศรีสุพรรณธรรมาธิราช พระอนุชาเจ้ากรุงละแวกซึ่งขัดพระทัย สมเด็จพระนเรศวร แต่กาลก่อน ได้ยุยงให้พระเชษฐาตัดสัมพันธไมตรีกับอยุธยา ละแวกจึงกลายเป็นหอกข้างแคร่ที่พร้อมจะกระหน่ำซ้ำเติมสยามให้ย่อยยับหากมีอันพลาดท่าเสียทีในศึกนันทบุเรงนี้ ภัยรอบด้านบีบรัดให้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงต้องเผชิญศึกอย่างโดดเดี่ยว ซ้ำเคราะห์กลับทับทวีคูณเมื่อสหายศึก เช่น เลอขิ่น และกองกำลังเมืองคัง ซึ่งร่วมกรำศึก กันมาแต่เบื้องต้นคิดถอนตัวตีจากเนื่องจากพิษรักระหว่างรบที่จบลงด้วยความร้าวฉานระหว่าง เลอขิ่น กับ พระราชมนู ขุนศึกคู่พระทัย ความขัดแย้งด้วยเหตุส่วนตัวได้บานปลายกลายเป็นภัยของแผ่นดินในคราวคับขันเมื่ออยุธยาต้องเผชิญศึก ซึ่งประมาณได้ว่าเป็นมหาสงครามภายใต้โทสจริตของ พระเจ้านันทบุเรง ด้วยข้อจำกัดที่รุมเร้าหลายประการ ผสานกับจำนวนไพร่พลที่เป็นรองหงสาวดีอยู่หลายขุม ทำให้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงจำต้องปรับยุทธศาสตร์การตั้งรับทัพหงสาวดี โดยทรงใช้พระนครศรีอยุธยาซึ่งมีทำเลที่ตั้งที่ได้เปรียบเป็นฐานบัญชาการรบแต่เพียงแห่งเดียว ทรงส่งกำลังออกไปปักปราการ วางแนวป้องกันมิให้พม่าเข้ามาปลูกค่ายใกล้ขอบคูพระนครและกำแพงเมือง ทั้งยังแต่งกำลังเป็นกองโจรเข้าปล้นค่ายข้าศึกอย่างอาจหาญ เมื่อศึกเหนือเสือใต้รุมกระหน่ำ ขุนนางผู้ใหญ่ขาดสามัคคีคิดคดคำนึงแต่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง จอมทัพผู้รั้งราชบัลลังก์และความอยู่รอดของแผ่นดินก็มาพลาดท่า ต้องศาสตรากลางสมรภูมิศึก ยอดทหารเอกกรุงศรีถูกขุนศึกผู้ชาญณรงค์กว่าจับเป็นเชลย ชะตากรรมกรุงศรีอยุธยา และ สมเด็จพระนเรศวร จะลงเอยอย่างไร

นักแสดงและทีมงาน

เบิร์ด วันชนะ สวัสดี

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ปีเตอร์ นพชัย ชัยนาม

ออกพระราชมนู / บุญทิ้ง

ต๊อด วินธัย สุวารี

สมเด็จพระเอกาทศรถ

ตั๊ก นภัสกร มิตรธีรโรจน์

พระมหาอุปราชา (มังสามเกียด)

ต้น จักรกฤษณ์ อำมรัตน์

พระเจ้านันทบุเรง

นก ฉัตรชัย เปล่งพานิช

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

เอก สรพงศ์ ชาตรี

พระมหาเถรคันฉ่อง

เกรซ มหาดำรงค์กุล

พระสุพรรณกัลยา

ดอม เหตระกูล

เสือหาญฟ้า

เจี๊ยบ ปวีณา ชารีฟสกุล

พระวิสุทธิกษัตรีย์

ดิลก ทองวัฒนา

พระศรีสุพรรณมาธิราช

ชลิต เฟื่องอารมย์

นรธาเมงสอ (พระเจ้าเชียงใหม่)

อภิชาติ อรรถจินดา

ออกญากำแพงเพชร

คาซุกิ ยาโนะ (Yano Kazuki)

ออกญาเสนาภิมุข

ธนา สินประสาธน์

ออกญาสีหราชเดโช

ต่อลาภ กำพุศิริ

ออกญาสุโขทัย

แอ๊ด โกวิท วัฒนกุล

ขุนรัตนแพทย์

กรุง ศรีวิไล

ออกญาพิชัย

มานพ อัศวเทพ

ออกญาสวรรคโลก

คมน์ อรรฆเดช

ออกญาท้ายน้ำ

ราวิน บุรารักษ์

พระยาพิชัยสงคราม

พยัคฆ์ รามวาทิน

พระยาจักรีศรีองครักษ์

แอ๊ว อำภา ภูษิต

ท้าววรจันทร์

ทินธนัท เวลส์ช

พระยาจันโต

บีเจ ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์

พระนเรศวร (วัยเด็ก)

เก้า จิรายุ ละอองมณี

บุญทิ้ง (วัยเด็ก)

กํากับการแสดง

ช่างภาพ

อาร์ต

นิวัฒน์ ทุมไซ

กำกับศิลป์

โปรดักชั่น

กรัณย์พล ทัศพร

ออกแบบงานสร้าง

ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล

ออกแบบงานสร้าง

สุดเขตร ล้วนเจริญ

ออกแบบงานสร้าง

แขก เบญจพร ปัญญายิ่ง

ควบคุมงานสร้าง

คุณากร เศรษฐี

อำนวยการสร้าง

ข้อมูลเพิ่มเติม

ดู ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง (2554) trueid
ชื่อ : ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง
Name : The Legend of King Naresuan 4
วันที่เข้าฉาย : 11 สิงหาคม 2554
วามยาว : 132 นาที
เรท :
*เพลงประกอบภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ศึกนันทบุเรง
      เพลง ความเศร้าแห่งสงคราม YouTube ขับร้องโดย : ธีรนัยน์ ณ หนองคาย
*ภาพยนตร์เรื่องนี้ภาคที่สี่ของภาพยนตร์ไทยภาคชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นผลงานการผู้กำกับภาพยนตร์โดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล มีการสร้างถึง 6 ภาค ดังนี้
     องค์ประกันหงสา (2550)
     ประกาศอิสรภาพ (2550)
     ยุทธนาวี (2554)
     ยุทธหัตถี (2557)
     อวสานหงสา (2558)
เป็นคนแรกที่รีวิว “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง”

ยังไม่มีรีวิว

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๔ ศึกนันทบุเรง