สามารถ พยัคฆ์อรุณ

สามารถ ทิพย์ท่าไม้ ชื่อเล่น สามารถ เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2505 เป็นบุตรของนายสมนึก กับนางเมค ทิพย์ท่าไม้ เริ่มหัดมวยไทยตั้งแต่อายุ 11 ขวบ โดยใช้ชื่อว่า "สามารถ ลูกคลองเขต" โดยสามารถมีพี่ชายแท้ ๆ ซึ่งเป็นอดีตนักมวยไทยชื่อดังด้วยคือ ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ ก้องธรณีเคยชกมวยสากลเหมือนสามารถ ได้มีโอกาสชิงแชมป์โลกถึง 2 ครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ โดยครั้งที่ 2 ได้ชิงแชมป์กับแชมป์โลกชาวไทยด้วยกันเองคือ เขาทราย แกแล็คซี่ มวยไทย สามารถชกมวยไทยครั้งแรกที่จังหวัดชลบุรีเมื่อ 24 ธันวาคม 2517 ชนะคะแนนเพชรอรุณ ศิษย์นิมิต จากนั้นตระเวนชกในแถบจังหวัดภาคตะวันออกถึงร้อยกว่าครั้ง จึงได้เดินทางมาชกในกรุงเทพฯ ในปี 2522 ที่สนามมวยเวทีลุมพินี โดยอยู่ในการดูแลของโปรโมเตอร์ชื่อดัง ทรงชัย รัตนสุบรรณ สามารถถือเป็นนักมวยชั้นเชิงแพรวพราว สายตาดี ชกได้สนุก ชนะใจคนดู และประสบความสำเร็จอย่างมากในการชกมวยไทย โดยได้แชมป์ของสนามมวยเวทีลุมพินีถึง 4 รุ่นด้วยกัน ได้แก่ รุ่นพินเวท (105 ปอนด์) ชนะคะแนนก้องสมุทร ชูวัฒนะเมื่อ 14 มีนาคม 2523 รุ่นจูเนียร์ฟลายเวท (108 ปอนด์) ชนะคะแนนพูนลาภ ศักดิ์นิรันดร์ เมื่อ 11 พฤศจิกายน 2523 รุ่นจูเนียร์แบนตั้มเวท (115 ปอนด์) ชนะคะแนน สิงห์ทอง ประสพชัย เมื่อ 31 มีนาคม 2524 และรุ่นเฟเธอร์เวท (126 ปอนด์) ชนะคะแนน สมิงหนุ่ม สิทธิบุญธรรม เมื่อ 13 ตุลาคม 2524 มวยสากลอาชีพ สามารถ พยัคฆ์อรุณ เริ่มหันมาชกมวยสากลอาชีพโดยได้รับการสนับสนุนจากบุคคลหลายฝ่าย เช่น ทรงชัย รัตนสุบรรณ ผู้จัดการและโปรโมเตอร์ สหสมภพ ศรีสมวงศ์ และสุชาติ เกิดเมฆ สามารถชกมวยสากลครั้งแรกเมื่อ 24 สิงหาคม 2526 ชนะคะแนน เนตรน้อย ศ.วรสิงห์ จากนั้น ชกชนะน็อคอีก 9 ครั้ง โดยชนะนักมวยฝีมือดีหลายคนเช่น ช่อ ห้าพลัง ทองเบิ้ม ลูกมาตุลี จากนั้นจึงได้ชิงแชมป์โลกครั้งแรกของสภามวยโลก (WBC) ในรุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท (122 ปอนด์) กับมักมวยชาวเม็กซิกัน กัวดาลูเป ปินตอร์ ผลการชก สามารถชนะน็อกแชมป์โลกไปได้ในยกที่ 5 กลายเป็นแชมป์โลกคนที่ 10 ของไทย หลังจากได้แชมป์โลกแล้ว สามารถไปชกนอกรอบที่ฝรั่งเศส เมื่อ 20 มิถุนายน 2529 ชนะคะแนน ราฟาเอล กันดาริลญา จากนั้นจึงชกป้องกันตำแหน่งอีกครั้ง ป้องกันตำแหน่งกับ ฆวน คิด เมซา นักมวยชาวเม็กซิกัน ซึ่งเป็นอดีตแชมป์โลกรุ่นนี้ ผลปรากฏว่า สามารถก็เอาชนะทีเคโอ​ไปในยกที่ 12 การชกกับฆวน คิด เมซา ได้รับการกล่าวขานถึงเป็นอย่างมาก เพราะสามารถพิงเชือกโยกหลบหมัดของผู้ท้าชิงด้วยสายตาอันว่องไวนับสิบ ๆ หมัด (ประมาณกันว่า 20 หมัด) และชกสวนหมัดตรงเข้าปลายคางไปเพียงหมัดเดียว ก็เอาชนะทีเคโอ​ผู้ท้าชิงไปได้อย่างน่าประทับใจ โดยการชกครั้งนี้เป็นการชกร่วมรายการเดียวกับ สด จิตรลดา ป้องกันตำแหน่งแชมป์โลก WBC รุ่นฟลายเวท กับกาบริเอล เบร์นัล ด้วย หลังจากได้แชมป์โลก สามารถกลายเป็นนักมวยเจ้าสำราญ ฟิตซ้อมไม่เต็มที่และเริ่มมีปัญหาน้ำหนักตัว ในที่สุดเมื่อสามารถเดินทางไปป้องกันตำแหน่งครั้งที่ 2 เป็นการป้องกันตำแหน่งนอกบ้านถึงประเทศออสเตรเลีย กับนักมวยเจ้าถิ่น เจฟฟ์ เฟเนค (ซึ่งต่อมาเป็นนักมวยชื่อดังระดับโลก เป็นแชมป์โลก 3 รุ่น) การชกครั้งนี้สามารถประสบปัญหาน้ำหนักตัวซึ่งต้องลดอย่างมาก จึงถูกเฟเนคเดินหน้าบุกชกจนเป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอ​ในยกที่ 4 อย่างหมดรูป กระนั้นยังมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า สามารถล้มมวยเพราะไม่เชื่อว่าฟอร์มการชกก่อนหน้านั้น 2 ครั้ง จะทำให้สามารถแพ้อย่างง่ายดายเช่นนี้ ซึ่งสามารถได้พิสูจน์ความจริงใจของตนเองด้วยพิธีสาบานที่วัดพระแก้วจนเป็นข่าวครึกโครมในช่วงนั้น และไปบวชอยู่ระยะหนึ่ง หลังเสียแชมป์โลกแล้ว สามารถยังคงชกมวยสากลต่ออีก 2 ครั้งจึงกลับมาชกมวยไทย ซึ่งก็ประสบความสำเร็จด้วยการชนะนักมวยชั้นนำในสมัยนั้นหลายคน เช่น เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง เป็นต้น จนใน 2531 สามารถ พยัคฆ์อรุณ ได้รับรางวัลนักมวยไทยยอดเยี่ยม จากสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬา โดยชกชนะรวดในปีนั้น ชนะทั้งพนมทวนเล็ก ศ.สิรินันท์ สำราญศักดิ์ เมืองสุรินทร์ นำพล หนองกี่พาหุยุทธ เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง แต่ต่อมาหลังชกแพ้วังจั่นน้อย ส.พลังชัยไปอย่างบอบช้ำ สามารถก็ประกาศเลิกชกมวยไทยไป สามารถ พยัคฆ์อรุณ กลับมาชกมวยสากลอีกครั้งใน 2536 โดยมี ทรงชัย รัตนสุบรรณ เป็นผู้สนับสนุนอีกเช่นเคย สามารถชกอุ่นเครื่องชนะรวด 5 ครั้ง จึงได้ชิงแชมป์โลกของ WBA ในรุ่นเฟเธอร์เวท กับ เอลอย โรฮัส นักมวยชาวเวเนซุเอลา ในปี 2537 ที่จังหวัดตรัง ผลการชกคือ สามารถแพ้ทีเคโอไปอย่างสิ้นสภาพในยกที่ 8 ปิดฉากชีวิตในแบบนักมวยทันที วงการบันเทิง ด้วยความเป็นคนหนุ่มหน้าตาดี มีบุคลิกที่โดดเด่น ประกอบกับมีนิสัยเจ้าสำราญ ทำให้มีบุคคลชักชวนเข้าสู่วงการบันเทิง ซึ่งก็ประสบความสำเร็จไม่แพ้ในวงการมวยเลยทีเดียว สามารถมีผลงานในวงการบันเทิงครั้งแรกโดยการออกเทปกับบริษัทแกรมมี่ ในชื่อชุด "ร็อกเหน่อ ๆ" มีเพลงดังที่รู้จักกันดีในยุคนั้นคือเพลง "อ่อนซ้อม" โดยเป็นการล้อเลียนการซ้อมมวยของสามารถเอง ซึ่งมักถูกกล่าวว่าเป็นมวยซ้อมน้อย และได้ออกอัลบั้มชุดต่อ ๆ มาอีกหลายชุด ไม่เพียงเท่านั้น สามารถยังได้ถ่ายแบบ แสดงหนัง ละคร หลายต่อหลายเรื่อง สามารถกลายเป็นดาราชื่อดังชั้นแนวหน้าในระยะเวลาไม่นาน และประสบความสำเร็จในวงการบันเทิงโดยได้รับรางวัลตุ๊กตาทองจากภาพยนตร์เรื่อง "ขยี้" ร่วมกับลิขิต เอกมงคล ในปี 2534 เป็นครั้งแรกของไทยจวบจนถึงปัจจุบันนี้ ที่มีนักแสดงนำชายที่ได้รับรางวัลนี้พร้อมกันถึง 2 คน ซึ่งในระหว่างที่ยังมีชื่อเสียงอยู่นั้น สามารถมีข่าวคราวว่าคบหาอยู่กับ กันตา ดานาว นักแสดงสาวที่แสดงเรื่องขยี้อยู่ด้วยกัน ในปี 2558 สามารถกลับมาแสดงภาพยนตร์อีกครั้ง โดยเป็นภาพยนตร์สารคดีชีวประวัติของตัวเอง ในเรื่อง มาดพยัคฆ์ ซึ่งสามารถทำหน้าที่เล่าเรื่องด้วยตนเอง โดยภาพยนตร์เรื่องนี้จัดสร้างโดย นาวสตูดิโอ ในเครือเนชั่น และมีการนำมาตัดเป็นตอน ๆ จำนวน 5 ตอน ออกอากาศทางช่อง นาว 26 ตั้งแต่วันที่ 15 - 22 กุมภาพันธ์ 2559

ภาพยนตร์ : นักแสดง

2563

หลวงพี่กะอีปอบ

- อาจารย์ทอง (นักแสดงรับเชิญ)
2548

7 ประจัญบาน 2

- เหมาะ เชิงมวย
2558

มาดพยัคฆ์

- สามารถ พยัคฆ์อรุณ
2550

ไชยา

- ทิว ไชยา
2549

ฅนไฟบิน

- นายฮ้อยสิงห์
2549

แซ่บ

- พ่อของแซ่บ
2544

สุริโยไท

- ไอ้ไป๋
2533

โอวตี่ 2

- โอวตี่
2533

คนพันธุ์ดุ

- เหยี่ยว
2546

ฅนปีมะ

- นักมวยที่ขึ้นชกมวยกับนก (รับเชิญ)
2563

มนต์รักดอกผักบุ้ง เลิกคุยทั้งอำเภอ

- เจ้าของค่ายมวย (รับเชิญ)

ละคร/ซีรีส์ : นักแสดง

2565

มามี้ที่รัก

- ครูเสือ (รับเชิญ)
2565

เคหาสน์นางคอย

- บุญ (รับเชิญ)
2564

เผาขน

- ผู้พัน (รับเชิญ)
2564

ทะเลเดือด

- ทองดี
2562

เสียงเอื้อนสะเทือนดาว

- ทองก้อน ทวีวงษ์ (ก้อน)
2562

หัวใจลูกผู้ชาย

- จ่าเฉื่อย
2560

มือปืนพ่อลูกติด

- (รับเชิญ)
2560

มหาหิน

- ครูช่วง คเชน
2560

นายฮ้อยทมิฬ

- ทิดจันทา
2560

มือเหนือเมฆ

- ลุงแบน
2559

ข้ามาคนเดียว

- คำม่วน
2558

จับกัง

- ลุงอ่าง
2558

เพื่อน-แพง

- ผู้ใหญ่ผาด
2557

เนตรนาคราช

- (รับเชิญ)
2556

แม่ค้า

- ฟ้าคำรณ
2552

ดิน น้ำ ลม ไฟ

- (รับเชิญ)
2544

นายฮ้อยทมิฬ

- ทิดถึก
2545

พิกุลทอง

- ตามั่น/ หมื่นมั่นสัตยา
2563

คนเหนือฅน

- เสือผาน (รับเชิญ)
2544

ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น

- ประสิทธิ์ (ดุ้ย)
2542

ตี๋ใหญ่

- นายโชติ
2541

สวัสดีคุณครู

- พ่อของสิริญ (เจ้าของค่ายมวย ส สทศักดิ์)
2534

ไผ่แดง

- เทียม
2564

เวราอาฆาต

- แผน (รับเชิญ)
2566

มวยสะดิ้ง หมัดซิ่งสายฟ้า

- สาหัส หมัดไร้เทียมทาน
2567

วันดีวิทยา Wandee Goodday

- พ่อยอยัก

นักแสดง

2563

หลวงพี่กะอีปอบ

- อาจารย์ทอง (นักแสดงรับเชิญ)
2548

7 ประจัญบาน 2

- เหมาะ เชิงมวย
2558

มาดพยัคฆ์

- สามารถ พยัคฆ์อรุณ
2550

ไชยา

- ทิว ไชยา
2549

ฅนไฟบิน

- นายฮ้อยสิงห์
2549

แซ่บ

- พ่อของแซ่บ
2544

สุริโยไท

- ไอ้ไป๋
2533

โอวตี่ 2

- โอวตี่
2533

คนพันธุ์ดุ

- เหยี่ยว
2546

ฅนปีมะ

- นักมวยที่ขึ้นชกมวยกับนก (รับเชิญ)
2563

มนต์รักดอกผักบุ้ง เลิกคุยทั้งอำเภอ

- เจ้าของค่ายมวย (รับเชิญ)

นักแสดง

2565

มามี้ที่รัก

- ครูเสือ (รับเชิญ)
2565

เคหาสน์นางคอย

- บุญ (รับเชิญ)
2564

เผาขน

- ผู้พัน (รับเชิญ)
2564

ทะเลเดือด

- ทองดี
2562

เสียงเอื้อนสะเทือนดาว

- ทองก้อน ทวีวงษ์ (ก้อน)
2562

หัวใจลูกผู้ชาย

- จ่าเฉื่อย
2560

มือปืนพ่อลูกติด

- (รับเชิญ)
2560

มหาหิน

- ครูช่วง คเชน
2560

นายฮ้อยทมิฬ

- ทิดจันทา
2560

มือเหนือเมฆ

- ลุงแบน
2559

ข้ามาคนเดียว

- คำม่วน
2558

จับกัง

- ลุงอ่าง
2558

เพื่อน-แพง

- ผู้ใหญ่ผาด
2557

เนตรนาคราช

- (รับเชิญ)
2556

แม่ค้า

- ฟ้าคำรณ
2552

ดิน น้ำ ลม ไฟ

- (รับเชิญ)
2544

นายฮ้อยทมิฬ

- ทิดถึก
2545

พิกุลทอง

- ตามั่น/ หมื่นมั่นสัตยา
2563

คนเหนือฅน

- เสือผาน (รับเชิญ)
2544

ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น

- ประสิทธิ์ (ดุ้ย)
2542

ตี๋ใหญ่

- นายโชติ
2541

สวัสดีคุณครู

- พ่อของสิริญ (เจ้าของค่ายมวย ส สทศักดิ์)
2534

ไผ่แดง

- เทียม
2564

เวราอาฆาต

- แผน (รับเชิญ)
2566

มวยสะดิ้ง หมัดซิ่งสายฟ้า

- สาหัส หมัดไร้เทียมทาน
2567

วันดีวิทยา Wandee Goodday

- พ่อยอยัก