นันทนาครภาพยนตร์
เรื่องย่อ : ผู้การเรือเร่ (2528/1985) ชรินทร์ นันทนาคร ขอเชิญท่านสู่อ้อมกอดของลุ่มน้ำลำคลอง ที่เปี่ยมด้วยความมโหฬาร ตระการตา และเฮฮาน่ารักที่สุด ผลงานที่ท่านเชื่อถือได้เสมอของ ชรินทร์ นันทนาครเรื่องแรกที่ กองทัพเรือ อนุมัติให้เข้าไปถ่ายทำในฐานทัพ "สัตหีบ" ยิ่งใหญ่และตื่นตากับพาเหรดเรือรบ 34 ลำ พร้อมทหารเรือ 1800 นายร่วมแสดงนำ
นาวาโทนาวิน สุรเดช ได้โอกาสกลับบ้านหลังจากฝึกเป็นเวลานาน โดยพา จำปา และ จำปี ลูกน้องมาเที่ยวด้วย เมื่อถึงบ้านเขาได้เจอกับแก สาวห้าวจอมแสบ และเกิดตกหลุมรักเข้า เขาจึงต้องหาวิธีเอาชนะใจเธอรวมถึงคุณพ่อมาดนักเลง ในขณะเดียวกันแม่ของนาวินกลับพยายามให้เขาแต่งงานกับหญิงสาวที่เขาไม่ต้องการ
ลูกเจ้าพระยา (2520/1977) แรงข้าวสุกนี่แหละลูกเอ๋ย ศักดิ์สิทธิ์หนักหนา ลูกเจ้าพระยา จึงเกิดมาสู่ความเป็นไท ผลงานของ ชรินทร์ นันทนาคร ที่ท่านเชื่อถือ มหึมามโหฬารทั้งปริมาณและคุณภาพ 70 ม.ม.ยิ่งใหญ่กว่า เสียงเซนเซอร์ราวด์
หาญ (สมบัติ เมทะนี) ล่องแพมากับลูกเมียแต่พบกับพายุจนแพแตก เขาช่วยไว้ได้แต่เพียง แก้ว ลูกชายและเลี้ยงดูเขาเพียงลำพัง เวลาผ่านไปหาญกลับถูกจับในข้อหาฆ่าคนตาย ทำให้ ครูมาลัย (เพชรา เชาวราษฎร์) ครูของแก้วรับแก้วมาเลี้ยงดูด้วยความสงสาร เมื่อแก้วเติบใหญ่ขึ้นได้เกิดเพลิงไหม้โรงเรียนที่ครูมาลัยสอน ทำให้ทั้งคู่ต้องไปทำงานในเหมืองของ พ่อเลี้ยงบุญล้อม (ทัต เอกทัต) และต้องผจญกับการกดขี่ แก้วพร้อมด้วยพ่อที่เพิ่งออกจากคุกและชาวเหมืองจำต้องรวมตัวกันเพื่อต่อกรกับอำนาจมืดของพ่อเลี้ยงบุญล้อม
หาญ ล่องแพมาพร้อมเมียและลูก แต่เกิดพายุจนแพแตกจนทำให้เขาช่วยชีวิต แก้ว ลูกชายไว้ได้เพียงคนเดียว เวลาผ่านไปเมื่อแก้วเข้าโรงเรียน หาญกลับถูกตำรวจจับ ครูมาลัยเกิดความสงสารจึงรับแก้วไปเลี้ยง ต่อมา เมื่อครูมาลัยลาออกและไปทำงานให้กับพ่อเลี้ยงบุญล้อม เธอถูกข่มเหงจนต้องให้หาญที่เพิ่งออกจากคุกมาช่วยต่อต้านและปลดปล่อยชาวบ้านที่ถูกกดขี่จากพ่อเลี้ยงเช่นกัน
เทพบุตรนักเลง (2508/1965) เทพบุตรนักเลง ของ รพีพร นวนิยายชีวิตที่ฮิตที่สุดในนิตยสาร "บางกอก" ดู! ครั้งแรก...ครั้งสำคัญ ที่สองเทพบุตรนักสู้ โผน กิ่งเพชร พบ อภิเดช ศิษย์หิรัญ ชม สุเทพโชว์-เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ร่วมแสดงและร้องเพลงประกอบ "ป่าลั่น" ยุคสมัยของคนหนุ่มได้เริ่มขึ้นแล้ว ด้วยศรัทธาอันทรงพลัง "เทพบุตรนักเลง" จึงปรากฏกายอย่างสง่า พร้อมที่จะให้ท่านพิสูจน์ในความดี และเรียบร้อยทุกด้าน... จากนวนิยายฮิตที่ฮิตที่สุด ในนิตยสาร "บางกอก" ของนักประพันธ์ตุ๊กตาทอง รพีพร