2491
บางขวาง (2491/1948) เผชิญ มหาโยธิน ถูกจำคุกในเรือนจำบางขวางกว่าสองปีเต็ม ระหว่างที่อยู่ในคุก เผชิญหมกมุ่นอยู่กับการคิดหาทางแก้แค้น เสี่ยเภา เพื่อนทรยศซึ่งทำให้ เผชิญต้องโทษ เมื่อได้รับการปล่อยตัวเผชิญจึงมุ่งหน้าไป ชำระแค้นเสี่ยเภาที่บ่อนการพนัน และยิงเสี่ยเภาตายคา ที่ก่อนรวบเงินหลบหนีไป ระหว่างหลบหนีเผชิญโดดขึ้น รถของหญิงสาวคนหนึ่ง ก่อนจะจูบหญิงสาวแทนคำขอบคุณ เมื่อแก้แค้นสำเร็จ เผชิญจึงเดินทางกลับไปหา แม่ แม่ของเผชิญขอร้องให้เผชิญกลับตัวเป็นคนดีและขอ ให้เผชิญบวช เผชิญได้แต่ตอบตกลงอย่างขอไปที แต่ในใจของเขาต้องการหาเงินเพื่อความสุขสบาย เผชิญร่วมมือกับเจิดเพื่อขายฝิ่น วันหนึ่งเขานัดลูกค้าไปรับฝิ่นที่โรงแรม ห้องหมายเลข 19 และได้พบกับ วลัยพร สาวที่เผชิญเคยขโมยจูบ ความสัมพันธ์ของทั้งสองพัฒนาไป อย่างรวดเร็ว วันหนึ่งเผชิญวางแผนพาวลัยพรไปเที่ยวที่ปีนัง แต่ ร.ต.ท.วสันต์ ซึ่งจับตาดูพฤติกรรมของเผชิญ มาโดยตลอดได้บุกจับกุมเผชิญ เผชิญพยายามยิงปืนตอบโต้ แต่ถูกตำรวจยิงเสียชีวิตต่อหน้าแม่ของเผชิญ
ดอยรักดอยร้าง (2491/1948) สุเทพ เป็นจิตรกร ซึ่งเดินทางมาพักผ่อนที่บ้านพระยาพิพัฒน์ที่เชียงใหม่เนื่องจากมีอาการเจ็บตา เช้าวันหนึ่ง สุเทพไปเดินตลาดแล้วรู้สึกประทับใจในความงามของแม่ค้าขายดอกไม้ จึงเข้าไปทำความรู้จัก เธอมีชื่อว่า เอื้องคำ อาศัยอยู่กับแม่สองคนที่เชิงดอยสุเทพรักเอื้องคำอย่างจริงใจจึงไปสู่ขอกับแม่เอื้องคำ และพามาอยู่ที่กรุงเทพ พระยาบุรินทร์ โกรธมากที่สุเทพเอาหญิงไม่มีชาติตระกูลมาเป็นภรรยา จึงประกาศตัดพ่อลูก สุเทพพาเอื้องคำไปเช่าห้องอยู่อย่างอัตคัด และตรากตรำทำงานหาเงินมาเลี้ยงดูครอบครัว อาการเจ็บตาจึงกำเริบเอื้องคำไปขอร้องให้พระยาบุรินทร์ช่วย พระยาบุรินทร์ยื่นข้อเสนอว่าจะช่วยก็ต่อเมื่อเอื้องคำออกไปจากชีวิตของสุเทพ เอื้องคำตอบตกลงเพราะมองไม่เห็นหนทางอื่นหลังจากกลับไปที่เชียงใหม่ เอื้องคำส่งจดหมายมารายงานเจ้าคุณว่าทำตามที่ขอแล้ว เจ้าคุณจึงไปรับสุเทพกลับมาอยู่บ้านเพื่อรักษาตา สุเทพเข้าใจว่าเอื้องคำจากไปเพราะรังเกียจที่ตัวเองจน จึงยอมแต่งงานกับ พรรณีตามที่พระยาบุรินทร์จัดการ แต่แล้วเขาก็ได้พบจดหมายของเอื้องคำที่ส่งมาถึงเจ้าคุณ จึงได้รู้ความจริง สุเทพรีบไปเชียงใหม่เพื่อตามหาเอื้องคำ สภาพบ้านซึ่งเคยเต็มไปด้วยดอกกุหลาบไม่มีเสียแล้ว เอื้องคำป่วยเป็นโรคปอด ส่วนแม่เฒ่าได้เสียชีวิตแล้ว สุเทพอยู่เคียงข้างคอยดูแลเอื้องคำ ทั้งๆ ที่ตัวเองยังไม่หายดีทำให้ตาบอดสนิท อาการของเอื้องคำทรุดหนักและเสียชีวิตในที่สุด
ลานท่าฟ้า (2491/1948) ภาพยนต์ไทยเรื่องแรกหลังสงคราม ของบริษัทดาราภาพยนต์ (ที่มา: นิตยสาร จอเงิน พฤษภาคม พ.ศ. 2491)