2500
ฆาตกรรมเปลือย (2500/1957) ฆาตกรรมเปลือย เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500 สร้างจากบทประพันธ์ของ เดชา ประการะนันท์ กำกับการแสดงโดย ปริญญา ลีละศร และถ่ายภาพโดย สมชาย ตัณฑ์กำเนิด
ปักธงไชย (2500/1957) ภาพยนตร์ไทยอิงประวัติศาสตร์จากเหตุการณ์สงครามปราบฮ่อ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2428 เมื่อชาวจีนฮ่อหมู่หนึ่งก่อการกบฏต่อแผ่นดินไทย ล้อมค่ายของกองทัพไทยไว้ทัพหนึ่ง ทางการจึงต้องตั้งปฏิบัติการลับเพื่อส่งตัวร้อยตรีเต็ม นายทหารหนุ่มมากฝีมือกับจ่าโทน นายทหารอาวุโสของกองทัพและกำลังทหารผู้รักชาติยี่สิบสี่นายไปทำหน้าที่ในการจัดส่งยาและกระสุนปืนใหญ่ พร้อมด้วยความตั้งใจที่พวกเขาจะต่อสู้และนำธงชาติไปปักแสดงอธิปไตยไว้ที่ชายแดน แม้รู้ว่าภารกิจในครั้งนี้อาจจะทำให้พวกเขาไม่ได้กลับมา
พ่อจ๋า (2500/1957) พ่อจ๋า เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500 เป็นผลงานการกำกับของ ส. อาสนจินดา สร้างโดย บางกอกการภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ได้รับรางวัลพิเศษผู้แสดงบทต่างวัยยอดเยี่ยม จากการประกวดตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 2
ประกาศิตศาลเตี้ย (2500/1957) ประกาศิตศาลเตี้ย เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500 สร้างจากบทประพันธ์ของ รังษี เทพวรสิน สร้างโดย สินสมุทรภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย วิษณุ ถ่ายภาพโดย ชาญ จันทรถาวร และให้เสียงพากย์โดย ม.ล. รุจิรา อิศรางกูร - มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกของ สมชาย ศรีภูมิ
ปรารถนาแห่งหัวใจ (2500/1957) ปรารถนาแห่งหัวใจ เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500 เป็นผลงานการกำกับของ วิจิตร คุณาวุฒิ สร้างโดย ยูเนียนฟิล์ม โดยมี ประทีป โกมลภิส เป็นผู้อำนวยการสร้าง และถ่ายภาพโดย แสวง ดิษยวรรธนะ ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ จินตะหรา
กลิ่นยี่โถแดง (2500/1957) กลิ่นยี่โถแดง เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500 สร้างโดย โยคีสถาน สี่พระยา แผนกภาพยนตร์ โดยมี วิรัช พึ่งสุนทร เป็นผู้อำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง และให้เสียงพากย์โดย เทพา-อาภรณ์ ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ อิงอร (ศักดิ์เกษม หุตาคม) เคยถูกนำมาสร้างเป็นละครเวทีในปี พ.ศ. 2496
ทุ่งรวงทอง (2500/1957) ทุ่งรวงทอง เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500 สร้างจากบทประพันธ์ของ แขไข เทวิณ สร้างโดย พัฒนาการภาพยนตร์ โดยมี เมธี พูนบำเพ็ญ เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดย ศิริ ศิริจินดา และถ่ายภาพโดย ชเนศร์ จรัสตระกูล
ขวัญใจเจ้าทุย (2500/1957) ขวัญใจเจ้าทุย เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500
ขุนโจร 5 นัด (2500/1957) ขุนโจร 5 นัด เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500 ให้เสียงพากย์สด สร้างโดยบริษัทสหการภาพยนตร์ไทยจำกัด โดยมี สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ เป็นผู้กำกับการแสดง-นำแสดง และให้เสียงพากย์โดย ม.ล. รุจิรา อิศรางกูร - มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา, สมพงษ์ วงศ์รักไทย ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์อีกครั้งในปี พ.ศ. 2526
ทรชนคนดี (2500/1957) ข้อความบนรูปโฆษณา
ศุภสิทธิภาพยนตร์ เสนอ
ทัศนาภรณ์ สิริยากร
นางงามภาค 5
ดนัย ดุลยพรรณ
แห่ง “เล็บครุฑ”
ทรชนคนดี
ร่วมด้วย
ทม วิศวชาติ
(แห่งสุภาพบุรุษสลึมสลือ)
เริงเดช พลาชัย, ด.ญ.เจียมจิต ใจบุศย์,
บังเละ, ผล, ทองถม, สละ, หรรษา ฯลฯ
ฉายที่ ศาลาเฉลิมบุรี ปลายเดือนตุลาคมนี้
สลับวงดนตรีของพยงค์ มุกดา-สุรพล แสงเอก
เริ่มแต่รอบ 12.00 น. 19 ตุลาคมนี้ (ที่มา : Thai Movie Posters)
แก้วกัลยา (2500/1957) แก้วกัลยา เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500 เป็นผลงานการกำกับของครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ สร้างโดย นพรัตน์ภาพยนตร์ โดยมี วิชิต คีตะชีวะ เป็นผู้อำนวยการสร้าง ถ่ายภาพโดย รัตน์ เศรษฐภักดี และให้เสียงพากย์โดย ม.ล. รุจิรา อิศรางกูร - มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ ผกามาศ
ยอดพิศวาส (2500/1957) ยอดพิศวาส เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500 สร้างโดย บูรพาศิลป์ภาพยนตร์ โดยมี สำเภา ประสงค์ผล เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดย วิชัย ปาลวัฒน์วิไชย ถ่ายภาพโดย ประเทือง ศรีสุพรรณ และให้เสียงพากย์โดย ม.ล. รุจิรา อิศรางกูร - มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา - ศรีนวล
โรงแรมนรก (2500/1957) โรงแรมเล็กๆแห่งหนึ่งในต่างจังหวัดที่ชื่อว่า โรงแรมสวรรค์ ที่มีลุงและหลานสองคนดูแลกิจการร่วมกัน ฝ่ายหลานชายนั้นนักแสวงโชคที่หวังจะหาเงินเล็กๆน้อยๆเข้ากระเป๋าจากการรับพนันงัดข้อกับ น้อย (ประจวบ ฤกษ์ยามดี) หลานชายคนดูแลกิจการโรงแรมที่อ้างว่าเป็นนักเลงงัดข้อแชมเปี้ยนโลก นอกจากเป็นบริกรของโรงแรมแล้ว ห้องพักเพียงห้องเดียวของโรงแรมแห่งนี้ถูกจับจอง โดยชายหนุ่มที่ชื่อว่า ชนะ (ชนะ ศรีอุบล) ซึ่งไม่ยอมเปิดเผยว่า เขาเลือกแวะพัก ณ โรงแรมแห่งนี้ด้วยจุดประสงค์อันใด โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ เจ้าของห้องพักเพียงห้องเดียวในโรงแรมผู้ที่ไม่ยอมเปิดเผยวัตถุประสงค์ของการมาเยือนโรงแรมแห่งนี้ ซึ่งมีพฤติกรรมแปลกๆของแขกมากหน้าหลายตา ที่มาเยือน แต่อย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ เขาไม่ค่อยพอใจกับสภาพอันวุ่นวายโกลาหลภายในโรงแรม ซึ่งมีคนพลุกพล่านและส่งเสียงอึกทึกครึกโครมตลอดเวลา ส่วนหนึ่งเป็นพวกนักดนตรีที่มาขออาศัยห้องโถงของโรงแรมฝึกซ้อมเพลง, ศาสตราจารย์สมพงษ์ (สมพงษ์ พงษ์มิตร) พูดถึงวงการศิลปินเมืองไทยในเชิงเหยียดหยาม แต่ตัวเขากลับเบี้ยวไม่ยอมจ่ายค่าเหล้าที่ติดค้างโรงแรมเป็นเวลานาน ก็ดูเหมือนจะเป็นการเหน็บแนมบรรดาคนหัวสูงที่เห็นของนอกดีกว่าของไทย หรือในช่วงถัดมา โรงแรมสวรรค์ของน้อยก็ได้ต้อนรับชายหญิงคู่หนึ่งที่ล่ามโซ่ตัวเองไว้ที่ข้อมือ ฝ่ายหญิงบอกว่าเธอชื่อ ยุพดี (ชูศรี มีสมมนต์) เพิ่งแต่งงานกับสามีที่ชื่อ หม่องส่าง และสาเหตุที่ต้องล่ามโซ่ ก็เพราะพ่อของฝ่ายชายกลัวเธอจะหนีไปมีชู้ เรียม (ศรินทิพย์ ศิริวรรณ) สาวลึกลับที่บอกว่ามี อายุ 65 ปี มีลูก 12 คน อาชีพค้าฝิ่นเถือน เป็นม่าย ผู้ที่แสดงตัวว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามกับชนะอย่างโจ่งแจ้งแต่ต้องกลับกลายมาเป็นคู่รักกันในยามคับขัน เมื่อชนะไม่ยินยอมให้ตัวเองตกเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ และอาศัยความเหนือกว่าด้านพละกำลังบังคับให้ฝ่ายหลังต้องใช้เก้าอี้ยาวในห้องโถงเป็นเตียงนอน คนหนึ่งเถรตรงและแข็งกระด้าง ส่วนอีกคนเอาแต่ใจ และชอบอาศัยความเป็นผู้หญิงหว่านล้อมเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ หรือยั่วโทสะให้อีกฝ่ายโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ แต่ความขัดแย้งของคนทั้งสองก็เป็นแค่เรื่องพ่อแง่แม่งอน ภายหลังการมาถึงของแขกไม่ได้รับเชิญสามคน คือ เสือสิทธิ์ (สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์) ซึ่งเป็นหัวโจก สมุนคนรอง ชื่อว่า ไกร (ไกร ภูตโยธิน) และคนสุดท้าย เชียร (วิเชียร ภู่โชติ) ทั้งสามล่วงรู้ว่า ชนะ เป็นสมุห์บัญชีของบริษัทปรีดาไทย เขาแวะพัก ณ โรงแรมแห่งนี้เพื่อรอรับเงิน 6 แสนบาทที่จะนำไปแจกจ่ายให้คนงาน แต่ไม่มีใครอาจรู้ได้ว่า เงินจำนวนมหาศาลนั้นจะมาถึงตอนไหน และใครเป็นคุมมา เงื่อนไขที่ทำให้เรื่องยิ่งยุ่งเหยิงมากขึ้นไปอีกก็คือ เสือสิทธิ์กับพวกไม่ใช่กลุ่มเดียวที่หวังจะเป็นเศรษฐีชั่วข้ามคืน แต่ยังมี เสือดิน (ทัต เอกทัต) จอมโจรที่ได้ชื่อว่าโหดเหี้ยมทารุณอีกคนที่ต้องการได้ครอบครองเงินก้อนเดียวกัน และปริศนาทั้งหมดถูกคลี่คลายโดยตำรวจที่มาเยือนในท้ายเรื่อง
ไพรพเนจร (2500/1957) ไพรพเนจร เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500 เป็นผลงานการกำกับของครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ และให้เสียงพากย์โดย ม.ล. รุจิรา อิศรางกูร - มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา