2501
บุกแหลก (2501/1958) ข้อความบนใบปิด อมรา อัศวนนท์ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี นำขบวน 10 ตุ๊กตาทอง บุกแหลก พร้อมด้วยยอดดาราที่คุณพอใจ สมจิตร ทรัพย์สำรวย, ล้อต๊อกน้อย, พันคำ, สมควร กระจ่างศาสตร์, ดอกดิน กัญญามาลย์, ชูศรี โรจนประดิษฐ์, ทานทัต วิภาตะโยธิน, ประไพ คำเรียบร้อย, น้ำเงิน บุญหนัก, มีศักดิ์ นาครัตน์ เนรมิต กำกับการแสดง
เจ็ดแหลก (2501/1958) หนังเรื่องที่ 3 ในหนังชุด 1 ต่อ 7 ของ ส.อาสนจินดา ข้อความบนใบปิด ปักหลักสู้ยับ ดับคาแผ่นดิน! เจ็ดแหลก อาคม มกรานนท์, อดุลย์ ดุลยรัตน์, ส.อาสนจินดา, จุมพล กาญจนนินทุ, อุศมาน ศรแดง, ล้อต๊อก, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ และเจ็ดทหารเสือ, เจ็ดสมิงสาว, เจ็ดเสือร้าย แสดงนำ บริษัท ไทยฟิล์ม จัดจำหน่าย
เรื่องย่อ : การะเกด (2501/1958) เมื่อท่านมีใจคอยเราได้เช่นนี้ เราจึงขอสัญญาจะนำ.. การะเกด มาพบกับท่านที่ ศาลาเฉลิมกรุง, ศาลาเฉลิมบุรี ให้ดีที่สุดสมกับที่ท่านคอยเรา ปลายพฤศจิกายนนี้ การะเกด เป็นเรื่องราวของการะเกด (พิศม้ย วิไลศักดิ์) นางรำละครฝีมือดี ที่สวยงามอ่อนช้อย กิริยานุ่มนวล จนเป็นที่ต้องตาตรึงใจขององค์พระยุพราชผู้สูงศักดิ์แห่งแผ่นดินกนกนคร (ลือชัย นฤนาท) แต่การะเกด นั้นแสนจะอาภัพ ทั้งที่รักองค์พระยุพราชแต่ก็ไม่อาจสมหวังได้ เพราะในอนาคตพระองค์จะต้องขึ้นครองราชย์ และมีคู่หมั้นหมายที่ศักดิ์สูงเท่าเทียมกันอยู่แล้ว คือเจ้าหญิงเกษรี (จรัสศรี สายะศิลปี) การะเกด ตามเสด็จองค์พระยุพราช ไปสู่กนกนครในฐานะครูสอนรำให้กับชาววัง แต่อานุภาพของความรักที่องค์พระยุพราช และการะเกดมีต่อกัน สุดท้ายทั้งคู่ได้ให้กำเนิดลูกชาย แต่การะเกดมิอาจแสดงความเป็นแม่ต่อเจ้าชายผู้สูงศักดิ์ได้ เธอได้มอบลูกชายให้กับองค์พระยุพราช และเจ้าหญิงเกษรี มเหสี ส่วนตัวเองก็กลับเมืองไทย และได้แต่คอยเฝ้าเป็นกำลังใจให้กับเจ้าฟ้าชายนคราธิบดินทร์ (ชนะ ศรีอุบล) ผู้สืบราชบัลลังก์แห่งกนกนคร
ค่ายนรก (2501/1958) อมรา-ชนะ-ตรึงตา ข้อความบนรูปโฆษณา สิงห์ทองภาพยนตร์ แม่เสือ “อมรา อัศวนนท์” บุก! ทลาย! ค่ายนรก ร่วมด้วย ชนะ ศรีอุบล, ตรึงตา วีรุทัย, พุฒ จินตเสรนี, สุทิน บัณฑิตสกุล, ล้อต๊อก, ชูศรี โรจนประดิษฐ์, บังเละ และดาราร่วมแสดงมากมาย ดรงค์ สิงโตทอง อำนวยการสร้าง อรกิจ อมาตยกุล กำกับการแสดง ชลอ ทองเติม-โสภณ เจนพานิช ถ่ายภาพ โรงภาพยนตร์แกรนด์ ประกันความดี โดยให้เกียรติเข้าฉาย กลางเดือนต.ค.นี้ เริ่ม 22 ตุลาคม 2501 นี้ เทพา-อาภรณ์-สยุมพร พากย์ *เครดิตเพิ่มเติม -สร้างจากบทประพันธ์ และบทภาพยนตร์ ของ เพชร สุรพร -อารี สิงห์โตทอง ออกแบบเครื่องแต่งกาย -มงคล อมาตยกุล สร้างเพลง *อมรา อัศวนนท์ แสดงเป็น ผานิต ชนะ ศรีอุบล แสดงเป็น รุตม์ สุทิน บัณฑิตสกุล แสดงเป็น ปฏิมา ตรึงตา วีรุทัย แสดงเป็น เกสร พุฒ จินตเศรณี แสดงเป็น เชิง ผู้ร้ายของเรื่อง ประสงค์ เนื่องจำนงค์ แสดงเป็น นายประสงค์ เชาว์ พัฒนพงษ์ แสดงเป็น นายมาลัย พ่อของผานิต นางเอก
บุหงาสวรรค์ (2501/1958) ข้อความบนใบปิด ศิวาพรภาพยนตร์ ภาพยนตร์รัก ชีวิต บู๊ทะลายเมือง ที่ไม่ต้องการคำโฆษณาถึงความดีใดๆ แสน สุรศักดิ์ อมรา อัศวนนท์ พบกันในบทรักเป็นครั้งแรก ใน... บุหงาสวรรค์ พร้อมด้วยเชิงบู๊สะบัดของเหล่าร้าย... ประมินทร์ จารุจารีต, สิงห์ มิลินทราศัย ฯลฯ ศิวาพร อำนวยการสร้าง ส.คราประยูร กำกับการแสดง รัตน์ เศรษฐภักดี ถ่ายภาพ
เห่าดง (2501/1958) บอกตรง-ตรง เห่าดงดีจริง-จริง กรุงเทพมหานครกำลังวุ่นวายเนื่องจากแก๊งโจรสามกลุ่ม คือ เล็บเหล็ก, แสงเทียน และ เห่าดง ออกปล้นสะดมอย่างต่อเนื่อง และกำลังเป็นที่ต้องการตัวของเจ้าหน้าที่ ในขณะที่เล็บเหล็ก และแสงเทียน ทำงานเป็นแก๊ง และฆ่าเจ้าทุกข์อย่างโหดเหี้ยม เห่าดงกลับทำงานคนเดียว และมักจะปล้นตลบหลังเล็บเหล็ก และแสงเทียน สร้างความอาฆาตแค้นให้กับทั้งคู่ วันหนึ่ง เล็บเหล็กออกปล้นร้านทองเยาวราช และถูกเจ้าหน้าตำรวจ นำโดย ร.ต.ท.วุฒิ (ไชยา สุริยัน) เข้าล้อมปราบ ขณะกำลังยิงต่อสู้กัน เห่าดงซึ่งเข้ามาอยู่ในเหตุการณ์ด้วย ถูกว่อง สมุนแก๊งเล็บเหล็กสังหาร ทำให้ตำรวจทราบว่าแท้ที่จริงแล้ว เห่าดง คือ เพลิง พัชรพิบูลย์ อดีตนายทหารม้า ต่อมา มีโจรลึกลับคนหนึ่ง สวมรอยใช้ชื่อเห่าดงออกทำการ ร.ต.ท.วุฒิ ได้ใช้กำลังปราบปราบแก๊งโจรอย่างจริงจัง และสามารถปราบเล็บเหล็ก และแสงเทียนได้ เหลือเพียงเห่าดงคนใหม่ ซึ่ง ร.ต.ท.วุฒิ ทราบในเวลาต่อมา ว่าแท้ที่จริงแล้วก็คือ พราว พัชรพิบูลย์ (อมรา อัศวนนท์) ลูกสาวบุญธรรมของเพลิง พัชรพิบูลย์ ซึ่งเป็นหญิงสาวที่เขาหลงรัก นั่นเอง
อินทรีย์ขาว (2501/1958) สุรสิทธิ์-ศรินทิพย์ ข้อความบนรูปโฆษณา สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ สั่ง อินทรีย์ขาว ถล่มกรุง! จากบทประพันธ์ของ สัติยวดี สร้างเป็นบทภาพยนตร์โดย สุพล สุวรรณสิทธิ์ และอำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง โดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ถ่ายภาพโดย เอก สุภาพันธ์ จากสุภาพบุรุษเสือไทย มาเป็นหัวหน้าแก๊งค์วายร้ายที่มีบริวารยอดบู๊นับพันๆ ทุกครั้งที่เขาประกาศิต มันหมายถึง บุกแหลก! เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิตของ สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ (ที่สร้าง-กำกับ) เกรียงไกรไปด้วยขบวนดารานามโรจน์ และยิ่งใหญ่ที่สุดในการถ่ายทำ พรั่งพร้อมด้วย ชาลี อินทรวิจิตร, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, จรูญ สินธุเศรษฐ์, น้ำเงิน บุญหนัก, เสน่ห์ โกมารชุน, จันทรา เมธากุล, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทานทัต วิภาตะโยธิน, ทองแป๊ะ สินจารุ ฯลฯ
เกล็ดแก้ว (2501/1958) เกล็ดแก้ว เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2501 สร้างโดย พันธมิตรภาพยนตร์ โดยมี วิเชียร วีระโชติ เป็นผู้อำนวยการสร้าง-ถ่ายภาพ และกำกับการแสดงโดย พันคำ (พร้อมสิน สีบุญเรือง) ภาพยนตร์เรื่องนี้มีคำโปรยว่า ดู! เกล็ดแก้ว ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มหาชนนับหมื่นชมแล้ว ปรบมือให้อย่างจริงใจ! ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์อีกครั้งในปี พ.ศ. 2526
เล็บสิงห์ (2501/1958) ดนัย-จรัสศรี-จุรีรัตน์ ข้อความบนใบปิด สนั่นศิลป์ภาพยนตร์ เสนอภาพยนตร์ต่อสู้ฉกาจฉกรรจ์ เล็บสิงห์ จากบทประพันธ์ของ ภูมิ สีหราช ดนัย ดุลยพันธ์, จรัสศรี สายะศิลปี, ประภาพรรณ นาคทอง, สมถวิล มุกดาประกร, สุรชาติ ไตรโภค, อนันต์ สัตยพันธ์, ล้อต๊อกน้อย, ดาวทอง สิงหพัลลภ, บังเละ, บู๊ วิบูลย์นันท์ พร้อมด้วยดาวรุ่งดวงใหม่ จุรีรัตน์ จันทรศิลปิน สนั่น จรัสศิลป์ และ K.N.J. ถ่ายภาพ มารยาท กำกับการแสดง จรรยา (สำเภาทอง) กำกับบท สนั่น จรัสศิลป์ อำนวยการสร้าง เริ่ม 28 สิงหาคม 2501 ที่โรงหนังพัฒนากร รูปบนใบปิดคือ จากซ้าย จรัสศรี, สมถวิล และดนัย