สิบสองนักสู้ (2502)

สิบสองนักสู้ (2502/1959) *ชื่อเดิม “สิบสองมือปืน” ไม่ผ่านเซ็นเซ่อร์ จึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น “สิบสองนักสู้” อดุลย์-วิไลวรรณ ข้อความบนรูปโฆษณา วิจิตรภาพยนตร์ เสนอ เกรียงไกรและยิ่งใหญ่ เหนือกว่านักสู้ทั้งหลายบนปฐพี.. นั่นคือ สิบสองนักสู้ ส.อาสนจินดา สร้างบทภาพยนตร์ และกำกับการแสดง วิจารณ์ ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ นำแสดงโดย อดลย์ ดุลยรัตน์, ชรินทร์ งามเมือง, ส.อาสนจินดา, อบ บุญติด, จำรูญ หนวดจิ๋ม, ทองฮะ วงศ์รักไทย, เปิ่น ปาฏิหาริย์ สิงห์ มิลินทราศัย, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, สุระ นานา, ชาลี อินทรวิจิตร, ศรินทิพย์ ศิริวรรณ, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, วิภา วัฒนธำรง, สงวน, สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช พร้อมด้วย เมืองเริง ปัทมินทร์, เทียนชัย สุนทรการันต์, จุมพล ปัทมินทร์, ประกอบ ดาราผู้ให้เกียรติ อาคม มกรานนท์, สาหัส บุญหลง, ประมินทร์ จารุจารีต, ศิริพงษ์ อิศรางกูร, ทองแป๊ะ, เกริก, พงษ์ศิริ และผู้ร่วมแสดงนับร้อย กำลังฉายวันนี้ที่ พัฒนากร-เอ็มไพร์ ฉายวันละ 5 รอบ 12.00 น. 14.00 น.16.30 .19.00 น. 21.15 น. (ที่มา :Thai Movie Posters)

แม่นาคพระโขนง (2502)
แม่นาคพระโขนง (2502/1959) จากแรงรักของนางที่มีต่อเขา เมื่อนางได้ตายจากเขาไป วิญญาณรักของนางจึงยังคงเวียนว่าย อยู่ในร่างร้าย เพื่อรอคอยสามี ภาพยนตร์ไทยเรื่องเดียวในยุคนี้ ที่สามารถทำรายได้ เกินล้าน ด้วยเวลาอันรวดเร็วที่สุด! เรื่องราวของนายมาก ผู้ต้องจากภรรยาที่กำลังตั้งท้องอ่อนๆ ไปเป็นทหารตามกฎบ้านเมือง นางนาคเฝ้ารอสามีจนท้องแก่ใกล้คลอด และในวันคลอดนั้นเอง เธอก็ทนความเจ็บปวดไม่ไหวจนตายไปพร้อมลูกในท้อง แต่ความอาวรณ์ทำให้เธอยังคงเฝ้ารอพี่มากอยู่ กลายเป็นเรื่องเล่าสยองขวัญ เมื่อหลายคนพยายามเข้าไปข้องแวะกับเธอ ล้วนเจอฤทธิ์เดชที่ถ้าไม่ตายก็เสียสติไป
มัจจุราชประกาสิต (2502)
มัจจุราชประกาสิต (2502/1959) มัจจุราชประกาศิต เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2502 เป็นผลงานกำกับการแสดงของ ส. อาสนจินดา และครูเนรมิต (อำนวย กลัสนิมิ) ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างเรื่องโดย เหม เวชกร
กิโมโน (2502)
กิโมโน (2502/1959) กิโมโน เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2502 สร้างโดย เฉลิมชัยภาพยนตร์ โดยมี เฉลิมชัย ชัยมงคล เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดง-ลำดับภาพโดย เสน่ห์ โกมารชุน ถ่ายภาพโดย รัตน์ เศรษฐภักดี และให้เสียงพากย์โดย เสน่ห์ โกมารชุน - จุรี โอศิริ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ไทยที่ได้ไปถ่ายทำถึงประเทศญี่ปุ่น
สี่คิงส์ (2502)

สี่คิงส์ (2502/1959) อมรา-ไชยา ข้อความบนรูปโฆษณาขาว-ดำ ไทยไตรมิตรภาพยนตร์ ผู้สร้าง “เห่าดง” เสนอภาพยนตร์สีธรรมชาติ ประเภทอาชญนิยาย บู๊! ดุเดือด! ทุกรสเข้มข้นถึงใจ สี่คิงส์ จากบทประพันธ์ของ เศก ดุสิต นำแสดงโดย อมรา อัศวนนท์ ไชยา สุริยัน สุทิน บัณฑิตสกุล, อาคม มกรานนท์, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, จรูญ สินธุเศรษฐ์, ประมินทร์ จารุจารีต, วิน วันชัย, ไฉน สัตยพันธ์, สุวิน สว่างรัตน์, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ล้อต๊อก, ดอกดิน กัญญามาลย์, ชูศรี โรจนประดิษฐ์ และหม่อมชั้น พวงวัน พร้อมด้วยศิลปินอาวุโสร่วมแสดง ชลิต สุเสวี (พระเอกหนัง สาวเครือฟ้า ปี 2496), สันตสิริ (นักทำโฆษณาชื่อดัง), แก้วฟ้า (แก้ว อัจฉริยะกุล นักแต่งเพลงชื่อดัง) ศิริ ศิริจินดา กำกับการแสดง แท้ ประกาศวุฒิสาร อำนวยการสร้าง อุไร ศิริสมบัติ สร้างฉาก แสวง ดิษยวรรธนะ ถ่ายภาพ พากย์โดย เสน่ห์ โกมารชุน, เสถียร ธรรมเจริญ และสอางค์ ทิพยทัศน์ เริ่มแต่วันที่ 28 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป ที่โรงหนังเอ็มไพร์ เชิงสะพานพุทธ วันธรรมดาฉายวันละ 4 รอบ คือ 12.00 น., 14.30 น., 19.00 น. และ 21.30 น. วันหยุดราชการเพิ่มรอบเช้า 9.30 น. ทุกวัน

 
แผ่นดินของใคร (2502)
แผ่นดินของใคร (2502/1959) แผ่นดินของใคร (ชื่อเดิม: แผ่นดินฉกรรจ์) เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2502 สร้างโดย สุวรรณสิงห์ฟิล์ม โปรดักชัน โดยมี สุเมธ คุณะปุระ เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดย ปริญญา ลีละศร ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ดั้งเดิมของ อรชร (ศรี ชัยพฤกษ์) มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเขาพระวิหารโดยตรง
นางสิงห์เมืองเสือ (2502)
นางสิงห์เมืองเสือ (2502/1959) ศักดา ศิริวัฒน์ (แสน สุรศักดิ์) เป็นนักเรียนนายเรือ เขาเกือบจะเรียนจบอยู่แล้ว ก็มีเหตุให้ต้องตัดสินใจหนีออกจากโรงเรียนไปทั้งนี้สืบเนื่องจาก พระชำนาญภักดี (สัมพันธุ์ อุมากูล) ผู้เป็นลุงได้เขียนจดหมายส่งข่าวมาจากหนองเสือว่า เรือเอกชาญผู้เป็นบิดาของเขานั้น ได้ถูกพวกโจรฆ่าตายเสียแล้ว ศักดาแค้นใจมากและต้องการจะแก้แค้นแทนบิดาให้จงได้ จึงได้ตัดสินใจออกจากโรงเรียนไปอย่างกระทันหันดังกล่าวแล้ว ที่สถานีรถไฟปลายทางศักดาได้พบกับ เด่น ดวงดาว (สมพงษ์ พงษ์มิตร) หนุ่มชาวพื้นบ้านย่านนั้น จึงได้ว่าจ้างเกวียนของเขาให้ไปส่งที่หนองเสือ ซึ่งเป็นหมู่บ้านอยู่ในกลางป่าลึก แวดล้อมไปด้วยทิวเขาสลับซับซ้อน ตอนแรกๆเด่นจะไม่ยอมนำทาง เพราะเขามีความหวาดกลัวที่จะเข้าไปในหมู่บ้านแห่งนั้น เด่นเล่าให้ศักดาฟังว่า หนองเสือเป็นหมู่บ้านใหญ่เต็มไปด้วยคนแปลกหน้าต่างถิ่น มีตลาดมีโรงมหรสพ เป็นหมู่บ้านที่รำ่รวย เพราะเป็นแหล่งค้าไม้ซุงที่มีบริษัทใหญ่ๆทรงอิทธิพลหลายบริษัท ไปตั้งอยู่ในเขตนั้น เป็นหมู่บ้านที่เต็มไปด้วยคนดุและนักเลงหัวไม้ การตีฟันกันแทงฆ่ากันตาย จึงเป็นเหตุการณ์ปกติประจำวันที่นั่นไม่มีกฏหมายปกครองกันด้วยอำนาจปืน ด้วยอำนาจของศักดานั่นเอง ทำให้เด่นจำต้องรับอาสานำทางทั้งคู่เดินทางรอนแรมมาในป่าทั้งวันทั้งคืน และบรรลุถึงตลาดหนองเสือเอาในตอนเช้า ที่นั่นก็พบว่า มีชายฉกรรจ์กลุ่มหนึ่งกำลังตะลุมบอนล้างหน้าไก่กันอย่างดุเดือด ทั้งสองจึงเลี่ยงไปเสียและไปหาอาหารกินในร้านขายเหล้าขายข้าวแฝ่ของเจ๊กเฮง และที่นี่แหละศักดาได้ถูก ยอด ชั้นเชิงดี (ไสล พูนชัย) นักเลงใหญ่แห่งหนองเสือตะบันหน้าเสียคลุกฝุ่น ฐานบังอาจมองหน้า จวนเจียนจะเอาตัวไม่รอดอยู่แล้วก็พอดี บุษบา มหาสมบัติ (งามตา ศุภพงษ์) ลูกสาวคนสวยของเจ้าคุณไพบูลย์มหาสมบัติ (จหมื่นมานพนริศร์) เดินทางมาจากกรุงเทพฯประสบเหตุเข้าจึงได้ห้ามปรามไว้ บุษบาเดินทางมาหนองเสือกับบิดาก็เนื่องจากผู้จัดการป่าไม้ของเธอถูก เสี่ยเส็ง (วิชิต ไวงาน) พ่อค้าไท้คู่แข่งเป่าด้วยลูกปืนเน่าไปหยกๆ จึงดำริที่จะจัดหาผู้จัดการใหม่ดำเนินงานแทนต่อไป ฝ่ายศักดานั้น หลังจากฝากลวดลายมวยไทยและกำปั้นหนักปานช้างถีบให้ยอดและลูกสมุนเจ็ดแปดคนได้รสบ้างแล้ว ก็หลีกเหตุการณ์อันฉุกละหุกไปเยี่ยมคุณลุง ณ บ้านท้ายตลาด ที่นั่นเขาได้พบเข้ากับ แก้วตา ราชภักดี (ปรียา รุ่งเรือง) ลูกสาวคนสวยของคุณลุง ซึ่งเขามารู้ตัวเอาในตอนหลังๆว่า คุณลุงได้หมายมั่นปั้นมือที่จะให้เขากับหล่อนได้แต่งงานกัน แต่หัวใจเขาได้ตกเป็นทาสรักของบุษบาเสียตั้งแต่ตอนแรกพบในเช้าวันนั้นแล้วเนื่องจากคุณพระชำนาณราชภักดิ์ กับ เจ้าคุณไพบูลย์มหาสมบัติ นั้นเป็นเพื่อนสนิทเก่าแก่กัน เมื่อเจ้าคุณปรารภอยากจะได้ผู้จัดการป่าไม้คนใหม่แทนคนเก่าที่ม้วยมรณาไป และเจรจาทาบทามขอศักดาหลานชายของคุณพระให้ดำรงตำแหน่งนี้ ซึ่งคุณพระก็ตอบตกลงด้วยความยินดี ยิ่งศักดาได้ล่วงรู้ว่า คนร้ายที่สังหารบิดาของเขานั้นเป็นรายเดียวกันกับที่สังหารผู้จัดการป่าไม้ ยิ่งทำให้เขากนะเหี้ยนกระหือที่จะรับตำแหน่งนี้ ณ ที่บริษัทป่าไม้ที่ศักดาไปประจำอยู่ เจ้าคุณได้ส่งให้ยอดไปเป็นผู้ช่วยของเขา และที่นั่นศักดากับยอดได้ปะทะเข้ากับ เสือหาญ (สิงห์ มิลินทราศัย) มือปืนของเสี่ยเส็ง เสือหาญถูกศักดาต่อยลงไปคว่ำ ขณะที่เสือหาญจะชักปืนออกมายิงนั้น พิมพา มะลิวัน (วิไลวรรณ วัฒนพานิช) สาวสวยลูก ทองต่อ มะลิวัน (สุคนธิ์ คิ้วเหลี่ยม) เจ้าของร้านกาแฟได้ชักปืนออกมายิงสกัดช่วย ทั้งนี้ก็เพราะว่าหล่อนพอใจและหลงรักในตัวผู้จัดการหนุ่ม ฝ่ายเสือหาญนั้นมีความผูกสมัครรักใคร่พิมพาอยู่แล้วจึงไม่ถือสาหาความแต่อย่างใด วันหนึ่งเสี่ยเส็งได้เชิญศักดาไปพบ และขอร้องให้กลับกรุงเทพฯเสีย ขืนอยู่เขาอาจจะสังหารเสียด้วยความจำใจ เพราะไม่ถูกกับเจ้าคุณเนื่องจากผลประโยชน์ขัดกัน แต่ศักดาไม่ยอม จึงก่อความเดือดดาลให้แก่เสี่ยเส็งและเสือหาญเป็นอย่างยิ่ง เย็นวันหนึ่งแก้วตากับบุษบาไปเล่นน้ำตกกัน และได้ถูกเสือหาญจับตัวไปเป็นตัวประกัน ศักดาและพวกได้ยกกำลังติดตามไปทันจึงเกิดการต่อสู้กันอย่างขนานใหญ่ และสามารถแย่งชิงแก้วตากับบุษบาคืนมาได้ คืนวันหนึ่งขณะบุษบากับศักดากำลังพลอดพร่ำกันอยู่นั้น เสือหาญซึ่งแอบซุ่มอยู่ได้ใช้ปืนลอบยิงอาการสาหัสและฉุดบุษบาไป ยอดได้ติดตามไปทันและเกิดการต่อสู้กันขึ้น หาญเสียทีถูกตีสลบเหมือดส่วนศักดานั้นถูกหามไปพยาบาล เหตุการณ์ผ่านไปหนึ่งปี ศักดาถูกกำหนดให้แต่งงานกับแก้วตาโดยการหมั้นหมายของคุณลุง แต่จิตใจเขานั้นเฝ้าหลงรักอยู่ที่บุษบาดังนั้นในวันหนึ่งเขาจึงหลบหนีไปเสียและได้เกิดการต่อสู้กันอย่างขนานใหญ่กับพวกเสี่ยเส็งและเสือหาญ ศักดาสามารถฆ่าคนทั้งสองได้สมแค้นและในที่สุดก็ได้คืนดีกับบุษบานางแก้วในดวงใจของเขา
สามสมอ (2502)
สามสมอ (2502/1959) สามสมอ เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2502 สร้างโดย ศรีชัยภาพยนตร์ โดยมี วิชัย ตันติวงศ์ เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับการแสดงโดย อนุมาศ บุนนาค
ไอ้เสือมือเปล่า (2502)
ไอ้เสือมือเปล่า (2502/1959) ไอ้เสือมือเปล่า เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2502 โดยมี สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ เป็นผู้กำกับการแสดงและนำแสดง
กล่อมกากี (2502)
กล่อมกากี (2502/1959) กล่อมกากี เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2502 สร้างโดย สนั่นศิลป์ภาพยนตร์ โดยมี สนั่น จรัสศิลป์ เป็นผู้อำนวยการสร้างและกำกับการแสดง ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ ชลอ สรนันท์ เคยดัดแปลงเป็นละครวิทยุของคณะวัฒนารมย์ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีคำโปรยว่า ภาพยนตร์ชีวิตสะเทือนใจ ท่ามกลางเสียงหัวเราะและน้ำตาที่จะประทับใจคุณไปตลอดปีนี้ โปรดไปพิสูจน์ความดีเด่น
คนองปืน (2502)
คนองปืน (2502/1959) คนองปืน เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2502 ให้เสียงพากย์สด สร้างจากบทประพันธ์ของ อรวรรณ (เลียว ศรีเสวก) สร้างโดย พันธมิตรภาพยนตร์ โดยมี วิเชียร วีระโชติ เป็นผู้อำนวยการสร้าง-ถ่ายภาพ และกำกับการแสดงโดย สาหัส บุญ-หลง
พล นิกร กิมหงวน ตะลุยฮาเร็ม (2502)
พล นิกร กิมหงวน ตะลุยฮาเร็ม (2502/1959) พล นิกร กิมหงวน ตะลุยฮาเร็ม เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2502 สร้างจากนิยายชุดเรื่องดังของ ป.อินทรปาลิต สร้างโดย โยคีสถาน สี่พระยา แผนกภาพยนตร์ โดยมี วิรัช พึ่งสุนทร สร้างบทและกำกับการแสดง
รอยเสือ (2502)
รอยเสือ (2502/1959) รอยเสือ เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2502 สร้างโดย รัตนาภาพยนตร์ โดยมี ประกอบ แก้วประเสริฐ เป็นผู้อำนวยการสร้าง และกำกับการแสดงโดย พันคำ (พร้อมสิน สีบุญเรือง) ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ อรวรรณ (เลียว ศรีเสวก)
แม่ (2502)
แม่ (2502/1959) รัตนาภรณ์-สมควร ชนะ-รสริน ข้อความบนรูปโฆษณา ศาลาเฉลิมกรุง และ กมลศิลป์ภาพยนตร์ ขอให้ท่านอดใจรอสิ่งเปรียบเทียบจาก รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา ระหว่างแม่ไทยกับแม่อินเดีย นั่นคือ แม่ กับ ธรณีกรรแสง ใครจะเหนือกว่ากัน แม่ จากบทประพันธ์ของ เสน่ห์ โกมารชุน รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา ชนะ ศรีอุบล, สมควร กระจ่างศาสตร์, สมจิตร ทรัพย์สำรวย, สมพล กงสวรรณ, เสน่ห์ โกมารชุน, กมลพันธ์ สันติธาดา, ล้อต๊อก, ชั้น พวงวัน พร้อมด้วย รสริน วิลาวัลย์ (เทพีตุ๊กตาทอง) และขอแนะนำ ด.ญ.อ้อย อินทิรา ประสิทธิ์ ศิริบันเทิง สร้างบท ธีระ แอคะรัจน์ ถ่ายภาพ น้อย กมลวาทิน กำกับการแสดง กำหนดฉายที่ ศาลาเฉลิมกรุง แห่งเดียว ในเดือนสิงหาคมนี้ (ที่มา :Thai Movie Posters)
เหนือมนุษย์ (2502)
เหนือมนุษย์ (2502/1959) ยูเนี่ยนฟิล์ม ขอประกาศว่า บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่คุณจะได้ชม ภาพยนตร์ชั้นยอดจากเรา ดู...ยอดดาราแห่งยุคมาพบกันอย่างคับคั่งที่สุด! เกรียง กัมปนาท หนุ่มเจ้าเล่ห์ผู้จองหอง ได้ปลอมตัวเข้าไปเป็นสายสืบในภารกิจส่งมอบกล่องสีน้ำเงินลึกลับ ของแก๊งโจรร้ายชาวไทยที่แฝงอยู่ในคราบชาวต่างชาติ โดยมีอัปสรหญิงสาวที่คอยร่วมมือช่วยเหลือให้เขาประสบความสำเร็จในภารกิจสุดแสนอันตราย
ฝ่ามรสุม (2502)
ฝ่ามรสุม (2502/1959) ข้อความบนรูปโฆษณา สุจินต์ภาพยนตร์ ผู้สร้าง ดอกฟ้าในมือโจร ภาคภูมิใจมอบให้ อดุล ราชวังอินทร์ ฝากผลงานที่ยิ่งใหญ่ และเหนือกว่า ให้คุณพิสูจน์อีกครั้ง จากฝีมือการถ่ายทำอันประณีตในระบบไดนามิคคัต สีสุจินต์คัลเลอร์ โดย ร.ต.สุจินต์ สุจิตรการพิทยา S.M.P. มือกล้องจากฮอลลีวู้ด ฝ่ามรสุม จากบทประพันธ์ของ อดุล ราชวังอินทร์ นำแสดงโดย ลือชัย นฤนาท อมรา อัศวนนท์ แสน สุรศักดิ์ ตรึงตา วีรุทัย พัชนี อุรารักษ์ พร้อมด้วย วลิต สนธิรัตน์, สมพล กงสุวรรณ, สังเวียน หาญบุญตรง, สาหัส บุญหลง, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ล้อต๊อก, เสน่ห์ โกมารชุน, ชูศรี โรจนประดิษฐ์, ผาด เนตรอำไพ ขอแนะนำดาราชายคนใหม่ มานะ ศรีโพธิ์ ในบท เวก ศรีวิชัย (การเวก ศรีวิจารณ์) ส.กำกับการแสดง กำกับการแสดง วัธนี สุจิตภารพิทยา อำนวยการสร้าง ร.ต.สุจินต์ สุจิตภารพิทยา S.M.P. ถ่ายภาพ อดุล ราชวังอินทร์ สร้างบท ที่ ศาลาเฉลิมกรุง ศาลาเฉลิมบุรี ต้นมิถุนายน นี้