2508
เงิน เงิน เงิน (2508/1965) เพลงพราว...ดาวพรู...ดูเพลิน เมื่อได้ชม เงิน เงิน เงิน ฉายแล้วจ้า...เฉลิมเขตร์ ไม่รวยก็ปิ๋ว... หนังมาตรฐาน ระบบซูเปอร์ซีเนสโคป สีอิสต์แมน เต็มจอยักษ์เฉลิมเขตร์ ฟัง 14 เพลงเพราะ จาก 15 ยอดนักเพลง เพลงพราว ดาวพรู ดูเพลิน 62 ดารา 14 เพลงเอก ทั่วโลกยอมรับแล้วว่า "เงิน เงิน เงิน" เป็นหนึ่งไม่มีสอง! 35 ม.ม.เสียงในฟิล์ม ซุปเปอร์ซีเนสโคป สีอิสต์แมน ขุนหิรัญ (อบ บุญติด) นายทุนเงินกู้ วัตโกเศรษฐกิจ มอบหมายให้หลานชาย ตุ๊ อรรคพล (มิตร ชัยบัญชา) เอาสัญญาเงินกู้ไปขู่บังคับชาวบางรื่นสุข ให้ย้ายออกด่วนเพื่อเอาที่ดินไปทำธุรกิจตึกแถวร่วมกับ คุณนายเม้า (สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต) หุ้นส่วน ซึ่งอรรคพลไม่ชอบวิธีการเช่นนี้ และเมื่อได้พบกับชุมชนที่สุขสงบ เรียบง่าย รวมทั้งกลุ่มวงดนตรีแก๊งค์เด็กวัดอารามบอย ทำให้ความหวังที่จะทำธุรกิจบันเทิงอย่างที่ตนเองฝันไว้ผุดขึ้นมาอีกครั้ง จึงรวมกลุ่มกับแก๊งค์เด็กวัดเพื่อเปิดกิจการไนท์คลับ แต่ก็ถูกกลั่นแกล้งจากท่านขุน ขณะเดียวกัน ภารดี (สุมาลี ทองหล่อ) น้องสาวแอบรักชอบกับ รังสรรค์ (ชรินทร์ นันทนาคร) ครูสอนเปียโนฐานะยากจน เมื่อหลานชายกับหลานสาวไม่ได้ดังใจ เศรษฐีหน้าเลือดอย่างท่านขุน จึงไล่ทั้งคู่ออกจากบ้าน โดยยื่นเงื่อนไขให้เอาเงินมาไถ่ที่ราคาหนึ่งล้านบาท เหตุการณ์พลิกผันให้อรรคพลพบกับแม่ที่พลัดพรากกัน (วิไลวรรณ วัฒนพานิช) และได้ กิ่งแก้ว (เพชรา เชาวราษฎร์) เด็กขอทานผู้เป็นเสมือนพลังใจ จนทำให้ความสัมพันธ์พัฒนาเป็นความรัก และช่วยกันหาทางนำเงินมาไถ่ถอนที่ได้สำเร็จ เป็นตัวอย่างของภาพยนตร์ที่สามารถเป็นตัวแทนภาพยนตร์ไทยในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ชัดเจน ทำหน้าที่ปลอบประโลมใจคนยากคนจนให้มีความหวัง ที่จะฝันว่า จะมีพระเอกในฝัน หนุ่มหล่อ ลูกมหาเศรษฐีมาช่วย มาหลงรัก และครองรักกับเราอย่างชื่นมื่นสุขใจ
ลูกของแม่ (2508/1965) ปราณี (สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย) ภรรยาของคุณพระบุรี (สมควร กระจ่างศาสตร์) ที่ต้องกลายเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวเพราะสามีนอกใจ เธอเลี้ยงดูลูกทั้งสี่ที่เลือกจะใช้ชีวิตกับแม่อย่างดี ส่งเสียจน บัลลังก์ (ทักษิณ แจ่มผล) ลูกชายคนโตเรียนจบปริญญา ทว่าบัลลังก์กลับกลายเป็นคนหัวสูงทิ้งแม่ทิ้งน้องไปอยู่กับภรรยาสูงศักดิ์อย่าง โฉมยง (ปรียา รุ่งเรือง) ส่วน บริรักษ์ (มิตร ชัยบัญชา) ลูกชายคนรองเล่าก็เข้าสู่ขบวนการเสรีไทยเสี่ยงต่ออันตรายในยุคที่โลกกำลังเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง
พระรถ-เมรี (2508/1965) ข้อความบนใบปิด เสน่ห์ศิลป์ภาพยนตร์ สร้าง เสน่ห์ โกมารชุน อำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง อนุศักดิ์ เจนจรัสสกุล ถ่ายภาพ พระรถ-เมรี หรือ นางสิบสอง จากวรรณคดีชาดกที่รู้กันทั่วไป นำโดย ไชยา สุริยัน เพชรา เชาวราษฎร์ และอีก 12 นางเอก เอื้อมเดือน อัษฎา, ปรียา รุ่งเรือง, เยาวเรศ นิสากร, บุษกร สาครรัตน์, อภิญญา วีระขจร, อุษา อัจฉรานิมิตร, วรรณา แสงจันทร์ทิพย์, ขวัญตา บัวเปลี่ยนสี, ใจดาว บุษยา, สุดเฉลียว เกตุผล, แพร ไพลิน, บุษบา และ...พาทีมเสน่ห์ศิลป์ครบครัน...
หยกแก้ว (2508/1965) ข้อความบนใบปิด ลดาพรรณภาพยนตร์ ส่งความสุขปีใหม่แฟนภาพยนตร์ 3 ปีซ้อน 07 ครึกโครม คือ ชโลมเลือด 08 คึกคัก คือ เลิศชาย 09 เหนือกว่า 2 ปีที่แล้วต้อง หยกแก้ว ของ “แก้วฟ้า” นำโดยคู่พระคู่นางที่นิยมที่สุดแห่งยุค มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ อดุลย์ ดุลยรัตน์, กิ่งดาว ดารณี, รุจน์ รณภพ, ม.ร.ว.ประสิทธิศักดิ์ สิงหรา, พงษ์ลดา พิมลพรรณ, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, เชาว์ แคล่วคล่อง, อภิญญา วีระขจร, หม่อมชั้น พวงวัน, ชฎาพร วชิรปราณี ขอแนะนำ ด.ช.วโรดม เปรมกมล ส.อาสนจินดา สร้างบทภาพยนตร์ พันคำ กำกับการแสดง ฉลอง ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ พงษ์ลดา พิมลพรรณ อำนวยการสร้าง อุเทน นุตเสน ดำเนินงาน วัชรภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
เดือนร้าว (2508/1965) ข้อความบนใบปิด ส.ค.ส.2509 โดมฤดีโปรดัคชั่น ขอส่งความสุขปีใหม่ด้วยภาพยนตร์ รัก สดชื่น ระทึกใจ มิตร ชัยบัญชา พบกับรองนางสาวไทย เนาวรัตน์ วัชรา วิไลวรรณ วัฒนพานิช, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, เอื้อมเดือน อัษฎา, อดุลย์ ดุลยรัตน์, จุรีรัตน์, สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช และ 4 ดาวเปลือยชื่ออื้อฉาว มณทิชา ณ เชียงดาว, มานี มณีวรรณ, บุษบา นภารักษ์, เปลวใจ หทัยทิพย์ เดือนร้าว จากบทประพันธ์ ของ รพีพร โดม แดนไทย อำนวยการสร้าง ไพรัช สังวริบุตร ถ่ายภาพ คุณาวุฒิ กำกับการแสดง เอวันฟิล์ม จัดจำหน่าย
ชาติฉกรรจ์ (2508/1965) ข้อความบนใบปิด จิตรวาณีภาพยนตร์ เสนอ หญิงกร้าว ชายแกร่ง ทุ่มแรง ร่วมใจ สู้ภัย ใน... ชาติฉกรรจ์ ของ วัชรินทร์ วัชราชันย์ ในนิตยสารดรุณี เป็นละครวิทยุของคณะ แก้วฟ้า นำโดย มิตร ชัยบัญชา เพชราเชาวราษฎร์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ทักษิณ แจ่มผล, กิ่งดาว ดารณี, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์ สุดเฉลียว เกตุผล, วิน วิษณุรักษ์, สมพล กงสุวรรณ, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, เทียว ธารา, ชด, เมฆ, อบ บุญติด, ประสาร, ทองแถม, แป๊ะอ้วน, ล้อต๊อก ร่วมแสดง ธีระ แอคะรัจน์ ถ่ายภาพ ขุนแผน ดำเนินงาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ กำกับการแสดง กิตติพงษ์ เวชภูญาน อำนวยการสร้าง
ชบาไพร (2508/1965) ข้อความบนใบปิด สุเทพภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์ชีวิตรัก ระคนบู๊ ฮาสะบัด... ชบาไพร ของ ช่อทิพย์วรรณ นำโดย ชนะ ศรีอุบล เพชรา เชาวราษฎร์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ทักษิณ แจ่มผล, สมจิตร ทรัพย์สำรวย, เชาว์ แคล่วคล่อง, อบ บุญติด, ปรียา รุ่งเรือง, สาหัส บุญหลง, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ประมินทร์ จารุจารีต, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ล้อต๊อก ช่อทิพย์วรรณ สร้างบท-กำกับ ส.สุเทพ สงคราม ถ่ายภาพ สมบูรณ์ จันทรสมบูรณ์ อำนวยการสร้าง รัตนงาม จัดจำหน่าย
นางเสือดาว (2508/1965) ที่ตำบลหนองงูเห่า เสือเหยี่ยวบุกปล้นบ้านเศรษฐี แล้วก็นำตัวลูกสาวเศรษฐีมาเลี้ยงในชุมโจรตั้งแต่ยังแบเบาะ เสือเหยี่ยวตั้งเด็กสาวคนนี้ชื่อว่า ยวง (ปรียา รุ่งเรือง) ต่อมาเมื่อเสือเหยี่ยวสุขภาพไม่ค่อยดีเพราะติดเหล้า เสือเหยี่ยวจึงคิดจะเลิกอาชีพปล้นและบอกเสือยวงให้รู้ว่า ตนมิใช่พ่อที่แท้จริง แต่กระนั้นเสือยวงก็ยังรักและกตัญญูต่อเสือเหยี่ยวเหมือนเป็นพ่อบังเกิดเกล้า ในการปล้นครั้งนี้เสือเหยี่ยวถูกเสือมิ่ง (พิภพ ภู่ภิญโญ) ลูกน้องเก่าแอบยิงข้างหลัง เสือยวงจึงประกาศตัวขึ้นเป็นหัวหน้าโจรคนใหม่ในชื่อ นางเสือดาว ที่ตำบลหนองงูเห่า มีกำนันชื่อเผ็ด มีผู้ใหญ่บ้านชื่อหวาน กำนันเผ็ดมีลูกชายชื่อ เพลิง (แมน ธีระพล) ส่วนผู้ใหญ่หวานมีลูกสาว 2 คนชื่อ น้ำผึ้ง (เยาวเรศ นิสากร) กับน้ำอ้อย (อภิญญา วีระขจร) ซึ่งเพลิงและน้ำอ้อยแอบรักใคร่ชอบพอกัน ต่อมามีหนุ่มพเนจรชื่อ ฉิ่งฉับแกละ (อนุชา รัตนมาลย์) เข้ามาขอทำงานเป็นลูกน้องผู้ใหญ่หวานซึ่งน้ำผึ้งก็แอบชอบฉิ่งตั้งแต่แรกเห็นเหมือนๆ กับที่หลิน (อุษา อัจฉรานิมิต) ลูกสาวเถ้าแก่ร้านขายกาแฟก็แอบชอบฉิ่งเช่นกัน ต่อมาเสือยวงสั่งให้กำนันเผ็ดจัดส่งเสบียงอาหารแก่ชุมโจรเสือดาว ไม่งั้นจะพาพวกบุกปล้นฆ่า กำนันเผ็ดยอมตามคำขอของนางเสือดาว แต่เพลิงไม่ยอมจึงพาฉิ่งกับพวกผู้ใหญ่บ้านไปดักปล้นเอาของคืนจากนางเสือดาว ทำให้เสือยวงโกรธจึงนำพวกเข้าปล้นบ้านกำนันเผ็ด กำนันเผ็ดและผู้ใหญ่หวานกับชาวบ้านจึงพากันรวมตัวสู้กับกองโจรเสือดาวโดยมีกำลังตำรวจมาสมทบภายหลัง สมุนเสือยวงถูกฆ่าตายและถูกจับไปหลายคน ส่วนตัวเสือยวงนั้นหลบหนีไปได้ สุดท้ายเพลิงกับน้ำอ้อยก็ได้ครองรักกันสมใจ ส่วนฉิ่งนั้นก็ตัดสินใจอำลาจากสองสาวน้ำผึ้งและหลินเพื่อพเนจรต่อไป
รัดใจ (2508/1965) ข้อความบนใบปิด เพชรรัตน์ภาพยนตร์ โดย “ศักดา ธงชัย” ภูมิใจเสนอ สุดชีวิต ของ พิศมัย สุดหัวใจ ของ สมบัติ รัดใจ ของ บุษยมาส จากนิยายวิทยุก้องอาณาจักรไทยของคณะ แก้วฟ้า ร่วมด้วย รุจน์ รณภพ, ปรียา รุ่งเรือง, กิ่งดาว ดารณี, ม.ร.ว.ประสิทธิศักดิ์ สิงหรา, วรรณา แสงจันทร์ทิพย์, รจิต ภิญโญวนิช, จุฑารัตน์ จินรัตน์, สมศรี, จรูญ สินธุเศรษฐ์, จำรูญ หนวดจิ๋ม, เทียมจันทร์, จรัสศรี สายะศิลปี, สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช ขอแนะนำ เด็กหญิงรุ้ง บรรณกร เนรมิต กำกับการแสดง อนันต์ อินละออ ถ่ายภาพ สุธี มีศีลสัตย์ สร้างบท ศักดา ธงชัย อำนวยการสร้าง เอวันฟิล์ม จัดจำหน่าย
ลูกพยัคฆ์ (2508/1965) ลูกพยัคฆ์ เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2508 กำกับการแสดงโดย รังษี เทพวรสิน
อรัญญิก (2508/1965) ข้อความบนใบปิด พัฒนาการภาพยนตร์ สร้าง อรัญญิก ของ ส.อาสนจินดา จากละครที.วี.ฮิต มาเป็นภาพยนตร์ชีวิตบนหยดเลือด และ น้ำตา ไชยา สุริยัน เป็น พิณ ราชโอรส... เพชรา เชาวราษฎร์ เป็น น้ำอ้อย ผู้กลายเป็น น้ำตา... ทักษิณ แจ่มผล เป็น โจรกล้า เขาลูกช้าง... ร่วมด้วยดาราผู้ร่วมแรงร่วมใจทั่วทุกสารทิศ รัตนงามภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
ค่ายบางระจัน (2508/1965) พ.ศ. 2308 พม่ายกทัพเข้ามารุกรานไทยหลายหมู่บ้าน พล และ แสน สองหนุ่มบ้านวิเศษไชยชาญจึงขี่ม้ามาส่งข่าวกำนันบ้านศรีบัวทอง ถึงแผนการของ ทิดดอก บ้านกลับ และ ทองแก้ว บ้านโพธิ์ทะเล ซึ่งเข้าไปคลุกคลีกับพวกพม่าเพื่อจะปล้นทรัพย์ แผนการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หากแต่กำนันบ้านศรีบัวทองเสียชีวิตในเหตุการณ์ สร้างความเศร้าสลดต่อชาวบ้านยิ่งนัก เมื่อขาดผู้นำ แท่น ซึ่งมีฝีมือในการรบดี จึงเสนอให้เดินทางไปสมทบที่ค่ายบางระจัน ชาวบ้านศรีบัวทองจึงแต่งตั้งแท่นเป็นแม่ทัพ ขณะนั้น เนเมียวสีหบดี แม่ทัพฝีมือเก่งกล้าฝ่ายพม่า มาตีค่ายบางระจันหลายต่อหลายครั้งก็ไม่สามารถเอาชนะได้ จึงเริ่มร้อนใจกลัวชาวบ้านค่ายบางระจันจะรวมกำลังคนได้มากขึ้น สุกี้ นายกองของพม่า ซึ่งเคยอาศัยอยู่เมืองไทยมานานอาสาเป็นผู้คุมทัพมาตีค่ายบางระจัน แท่นยังบาดเจ็บสาหัสจากการรบครั้งก่อน นายจัน หนวดเขี้ยว ขุนสรรค์ พันเรือง และคนอื่นๆ หารือตกลงกันว่าจะให้พลขี่ม้าไปขอปืนใหญ่จากกรุงศรีอยุธยาแต่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไม่เห็นด้วย มีเพียงพระยารัตนาฯ ที่เห็นใจชาวบ้านบางระจัน จึงตามพลมาช่วยสอนวิธีการหล่อปืนใหญ่แต่ไม่สำเร็จ สุกี้ยกทัพโจมตีค่ายบางระจันและสามารถทำลายประตูค่ายได้ ชาวบ้านทั้งชายและหญิงพร้อมใจกันเข้าต่อสู้ แต่หมดกำลังจะต้านทานจึงพ่ายแพ้พม่าไปในที่สุด
ลูกหญิง (2508/1965) ข้อความบนใบปิด กมลศิลปภาพยนตร์ เสนอ ใครๆก็มีพ่อแม่ ใครๆก็มีลูก แต่พ่อแม่คนไหนๆก็ไม่เคยมีลูกถุกใจเท่า ลูกหญิง ของ รพีพร นำแสดงโดย ไชยา สุริยัน รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง รัตนาภรณ์ น้อย อินทรกำแหง รัตนากร อินทรกำแหง อดุลย์ ดุลยรัตน์ ชฎาพร วชิรปราณี, สมควร กระจ่างศาสตร์, ราชันย์ กาญจนมาศ, สมพล กงสุวรรณ, ประมินทร์ จารุจารีต, สังวรณ์, สมพงษ์ พงษ์มิตร, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ, ทองแถม, หม่อมชั้น พวงวัน, ปราณีต คุ้มเดช, ก๊กเฮง, ขวัญ และด.ญ.วัชราภรณ์ พึ่งสังข์ ร่วมแสดง รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง อำนวยการสร้าง น้อย กมลวาทิน กำกับการแสดง พลังจิต สร้างบท สังวรณ์-ธงชัย สร้างฉาก กมลศิลป์ ลำดับภาพ อนุศักดิ์ เจนจรัสสกุล ถ่ายภาพ วัชรภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
บัวน้อย (2508/1965) ข้อความบนใบปิด ชัยรัตนาภาพยนตร์ เสนอ บัวน้อย จากเค้าโครงเดิม “หนองสาหร่าย” ของ ทวิช ทวัชชัย นำโดย ไชยา สุริยัน ภาวนา ชนะจิต สมจิตร ทรัพย์สำรวย, อดุลย์ ดุลยรัตน์, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์ ร่วมด้วย วิชิต ไวงาน, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ถวัลย์ คีรีวัตร, มนัส บุณยเกียรติ, แป๊ะอ้วน, แคหลอ, ปราณีต คุ้มเดช, ด.ญ.วาสนา ทวัชชัย พันคำ-พรรณราย ร่วมกำกับ ธงชัย ศรีเสรี อำนวยการสร้าง เอกรัตน์ จัดจำหน่าย
ลูกผู้ชายชื่อไอ้แผน (2508/1965) ข้อความบนใบปิด ไตรเทพภาพยนตร์ เสนอ เขา...เป็นใคร? มาจากไหน? ไม่มีใครรู้ แต่เขาคือ... ลูกผู้ชายชื่อไอ้แผน ของ เริง อภิรมย์ ละครวิทยุ ของคณะ แก้วฟ้า สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี บุศรา นฤมิตร ปรียา รุ่งเรือง ประมินทร์ จารุจารีต สาหัส บุญหลง อดินันท์ สิงห์หิรัญ นำแสดง วิน วันชัย สร้าง/กำกับ วิเชียร วีระโชติ ถ่ายภาพ รัตนงาม จัดจำหน่าย
เพชรน้ำผึ้ง (2508/1965) เชน (สมบัติ เมทะนี) หนุ่มเกษตรบัณฑิตที่จำต้องไปเป็นคนงานในไร่ "เพชรน้ำผึ้ง" เพื่อทำงานใช้หนี้ให้กับ ดุสิต เจ้าของไร่ผู้ทรงอิทธิพล ดุสิตมีลูกสาวอยู่หนึ่งคนคือ จูน (เพชรา เชาวราษฎร์) ที่เขาส่งไปเรียนเมืองนอกตั้งแต่ยังเล็กและกำลังกลับมาที่ไร่เพชรน้ำผึ้ง ทั้งสองจึงได้พบกันและกลายเป็นคู่กัดระหว่างกัน จูนมีปมชีวิตที่ไม่เคยได้พบหน้าแม่เพราะดุสิตกีดกัน โดยหารู้ไม่ว่าแม่แท้ๆ ของจูนก็คือแม่เลี้ยงที่เลี้ยงดูเชนมานั่นเอง เชนพยายามช่วยเหลือให้ทั้งสองแม่ลูกได้พบหน้ากันท่ามกลางการกีดขวางจากดุสิต ทั้งยังต้องเผชิญกับแผนร้ายของ นุจรี สาวที่หลงไหลเชนและต้องการกำจัดจูนให้พ้นทาง