แก้วกาหลง (2510)
แก้วกาหลง (2510/1967) เสน่ห์ โกมารชุน สร้าง แม่นาคพระโขนง เจ้าแม่ตะเคียนทอง ลบสถิติและลือลั่นมาแล้ว ครั้งนี้ขอเสนอ... แก้วกาหลง ดูหนังผี ต้อง "เสน่ห์ โกมารชุน" สร้าง ดูหนังผี ต้อง "รังสี ทัศนพยัคฆ์" กำกับ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ไอ้แก้ว (มิตร ชัยบัญชา) ทาสในเรือนเบี้ย แต่เพราะไอ้แก้วมีความขยันมากกว่าทาสคนอื่นๆ จึงได้สิทธิพิเศษให้เรียนหนังสือ ไอ้แก้วมีความสามารถในการเล่นดนตรีสีซออู้ได้อย่างไพเราะ จึงได้รับความไว้วางใจท่านเจ้าคุณมหิทธ์ศักดิ์ ให้เป็นผู้สอนสีซออู้แก่กาหลง (ปรียา รุ่งเรือง) ผู้เป็นลูกสาวท่านเจ้าคุณฯ ก็เรียกว่า สอนไป สอนมา เกิดใกล้สนิทสนมและลักลอบได้เสียกัน ซึ่งเป็นความผิดมีโทษมหันต์ ยังความโกรธแค้นแก่ท่านเจ้าคุณฯ เป็นอย่างยิ่งเพราะทั้งอายที่ลูกสาวลดตัวไปเป็นเมียทาสหนุ่ม ท่านเจ้าคุณฯ จึงสั่งลงโทษโบยเฆี่ยนหลังไอ้แก้วและจับขังคุกทาสไว้ กะว่าจะให้ตาย ส่วนกาหลงผู้เป็นลูกสาวนั้น ท่านเจ้าคุณส่งตัวไปกักขังอยู่ที่กระท่อมกลางสวน เพื่อให้คลอดลูกก่อน โดยจัดเวรยามเฝ้าดูแลไว้ แต่เมื่อคนเฝ้ากินเหล้าเมายา แล้วก็เกิดอารมณ์เข้าปลุกปล้ำหมายข่มขืนกาหลง กาหลงไม่ยอม ก็ต่อสู้ดิ้นรนสุดชีวิตกระทั่งตัวเองถูกบีบคอตายคากระท่อม.. ท่านเจ้าคุณฯ รู้ข่าว ก็เสียใจและรีบจัดการฝังศพกาหลงไว้และตัวเองก็ป่วยจนตรอมใจตายในเวลาต่อมา ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกันกับในหลวงรัชกาลที่ 5 โปรดให้เลิกทาส ไอ้แก้วจึงได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ แต่ไม่มีใครบอกว่า กาหลงเสียชีวิตไปแล้ว ต่อมาหมอผีก็ไปขุดศพนางกาหลงขึ้นมา หมายจะเอาน้ำมันพรายไปทำเสน่ห์ยาแฝด แต่เพราะกาหลงเป็นผีตายโหงที่ถูกสะกดวิญญาณไว้ เมื่อยันต์สะกดหลุดออก ผีนางกาหลงก็เลยเฮี้ยนและจัดการฆ่าหมอผีตายเป็นศพแรก จากนั้นผีนางกาหลงก็ออกอาละวาดทุกค่ำคืน ชาวบ้านชาวช่องก็ไม่กล้าออกจากบ้านไปไหน ผีนางกาหลงออกตามหาไอ้แก้วผัวรัก เมื่อหาไม่เจอ ก็มานั่งสีซอคร่ำครวญทุกคืนจนชาวบ้านกลัว ย้ายหนีกันไปหลายคน ส่วนไอ้แก้ว เมื่อพ้นจากทาสมาเป็นไท ก็กลับไปอาศัยญาติๆ ทำนา แล้วก็ได้พบกับซ่อนกลิ่น (เพชรา เชาวราษฎร์) เกิดรักใคร่ชอบพอกัน กระทั่งเกลอเก่าที่เคยเป็นทาสหนีจากบ้านท่านเจ้าคุณฯ มาหาไอ้แก้วและขออาศัยอยู่ด้วย ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับที่ผีนางกาหลงติดตามเกลอไอ้แก้วมาด้วยเช่นกัน ตกกลางคืน ผีนางกาหลงก็ปรากฏตัวและไปขออยู่กับไอ้แก้วที่บ้าน โดยที่ไม่มีใครรู้ว่า กาหลงตายไปแล้ว กระทั่งเกลอเก่าไอ้แก้วมาเห็นเข้า จึงบอกซ่อนกลิ่นว่า กาหลงตายไปแล้ว ซ่อนกลิ่นก็ไปบอกไอ้แก้ว แต่ไอ้แก้วกลับไม่เชื่อ หาว่า ซ่อนกลิ่นหึงหวงกาหลง เหตุการณ์เริ่มไม่ค่อยจะสู้ดีเพราะไอ้แก้วกับผีนางกาหลงยังคงอยู่ร่วมบ้านกัน ซ่อนกลิ่นจึงไปหาอาจารย์ หาผ้ายันต์มาให้ไอ้แก้วพิสูจน์ความจริงว่า กาหลงตายไปแล้ว แก้วจึงยอมเอาผ้ายันต์ใส่ไว้ใต้หมอนที่กาหลงนอน พอตกกลางคืนร่างของกาหลงก็กลายเป็นซากศพเน่าเฟะนอนอยู่แทน แก้วจึงรู้ว่า กาหลงตายแล้ว ก็หนีไป สร้างความโกรธแค้นให้ผีนางกาหลงเป็นอย่างมาก จึงออกอาละวาดฆ่าคนเป็นว่าเล่น หมอผีหลายคนที่หาปราบ ก็สู้ผีนางกาหลงไม่ได้ กระทั่งหมอผีคนล่าสุดก็กำลังจะถูกผีกาหลงหักคอ ไอ้แก้วทนไม่ได้ที่ผีนางกาหลงฆ่าคนเป็นว่าเล่น จึงออกมาพบและบอกให้กาหลงฆ่าไอ้แก้วแทนเพราะจะได้ตายและไปอยู่ด้วยกัน เมื่อผีนางกาหลงได้ยินเช่นนั้น ก็รู้ว่าแท้จริงแล้ว ไอ้แก้วยังรักกาหลงอยู่ เพียงแต่เพราะอยู่กันคนละชาติคนละภพ ไอ้แก้วจึงแสดงออกแบบนั้น ผีนางกาหลงรู้สำนึกผิดชอบชั่วดีแล้ว จึงยอมปล่อยหมอผีไป และรู้ว่า ซ่อนกลิ่นก็รับไอ้แก้วเช่นกัน เมื่อชาตินี้ไม่สามารถอยู่กับพี่แก้วได้อย่างคนทั่วไป ก้เอ่ยปากฝากพี่แก้วกับซ่อนกลิ่นให้ครองคู่อยู่ร่วมกัน ส่วนตัวกาหลงเองก็จะกลับไปชดใช้กรรมในนรกภูมิ เพื่อชาติหน้าจะได้เกิดมาเป็นเมียพีแก้วอีกครั้ง
เทพธิดาบ้านไร่ (2510)
เทพธิดาบ้านไร่ (2510/1967) "ใจฉันมอบให้แก่เธอ แต่กายขอขายให้แก่เขา เพื่อผู้บังเกิดเกล้าที่ฉันบูชา" ดูความรักที่แสนชื่น และสะอื้นอาบน้ำตา โยธิน เทวราช (มิตร ชัยบัญชา) เศรษฐีหนุ่ม ซื้อที่ดินไว้แปลงหนึ่งจึงขี่ม้าออกสำรวจที่ดินของตนเองจนมาถึงที่ดินของนายกล่ำ โยธินถูกม้าสลัดตกได้รับบาดเจ็บ นายกล่ำและเกศแก้ว (เพชรา เชาวราษฎร์) ลูกสาวได้ช่วยเหลือและนำกลับไปรักษาที่บ้านของตน โยธินบอกกับทุกคนว่าตนเองชื่อ "แฉล้ม" เป็นหัวหน้าคนงานในไร่ของโยธิน ที่ดินติดกับนายกล่ำเป็นของนายสรไกร (อดุลย์ ดุลยรัตน์) เศรษฐีที่ดินเจ้าเล่ห์ซึ่งพยายามกว้านซื้อที่ดินใกล้เคียงกับไร่ของตนในราคาถูกๆด้วยการใช้เล่ห์กลคดโกง และกล่ำก็ได้จำนองที่ดินของตนไว้กับนายสรไกรด้วยในจำนวนเงินสามพันบาท เมื่อโยธินในคราบของนายแฉล้มเกลี้ยกล่อมให้กล่ำรับเงินของตนไปไถ่ถอนที่ดินคืนจากนายสรไกร แต่การได้กลายเป็นในสัญญานายกล่ำเป็นหนี้อยู่ถึงสามหมื่นบาท เนื่องจากนายสรไกรได้ทำการโกงโดยการแก้ไขสัญญาจำนอง โยธินใช้ความรู้ทางกฎหมายทำให้นายสรไกรต้องยอมขายที่ดินให้ โยธินในคราบของแฉล้มนำโฉนดที่ดินมามอบให้นายกล่ำโดยบอกว่าโยธินเจ้านายของตนเป็นผู้มอบให้ เนื่องจากเจ้านายของตนชอบเกศแก้ว โดยแกล้งบอกว่าโยธินเป็นคนโสดแต่มีนางบำเรอเป็นจำนวนมาก ทำให้เกศแก้วกลัวมากไม่กล้าพบหน้าโยธิน โยธินสร้างเรื่องให้อลเวงยิ่งขึ้นด้วยการส่งผู้ใหญ่มาสู่ขอเกศแก้วต่อนางเอื้อนแม่ของเกศแก้ว นางเอื้อนรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งเพราะการได้ลูกเขยร่ำรวยจะทำให้ครอบครัวของตนสุขสบาย ต่อมาโยธินก็ส่งคนมาสู่ขอเกศแก้วกับนายกล่ำด้วย แต่นายกล่ำบ่ายเบี่ยงเนื่องจากรู้ว่าในใจของเกศแก้วมีแฉล้มอยู่แล้ว ขณะเดียวกับที่นายสรไกรก็ส่งลูกน้องมารังควานหาเรื่องเฉล้มต่างๆนาๆ นายกล่ำป่วยหนักด้วยวัณโรค แฉล้มต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินมาช่วยรักษากล่ำแม้กระทั่งต้องขี่สามล้อรับจ้าง โยธินส่งเงินมาให้เกศแก้วรักษาพ่อโดยมีข้อตกลงว่าเกศแก้วต้องยอมเป็นนางบำเรอของตน เกศแก้วตกลงใจยอมรับข้อเสนอของโยธิน เกศแก้วมาลาแฉล้มเนื่องจากโยธินกำหนดวันที่จะมารับ โดยบอกว่าเธอรักแฉล้มแต่จำเป็นต้องตอบแทนบุญคุณของพ่อ จึงขอลาแฉล้มไปชั่วชีวิต โยธินตัวปลอมเดินทางมาถึงไร่นายกล่ำจึงเป็นที่เปิดเผยว่า โยธิน เทวราชตัวจริงนั้นคือแฉล้มนั่นเอง และนายกล่ำก็มิได้ป่วยจริงเพียงแต่ร่วมมือกับโยธินเพื่อลองใจเกศแก้ว โดยหวังจะได้ความรักอันบริสุทธิ์ ในที่สุดโยธินและเกศแก้วก็ได้แต่งงานครองรักกัน
จันทร์เจ้า (2510)
จันทร์เจ้า (2510/1967) ข้อความบนใบปิด กรุงเกษมภาพยนตร์ เสนอ เพื่อลบสถิติตัวเองให้เหนือกว่า “แว่วเสียงยูงทอง” “น้ำค้าง” “มือนาง” “โนรี” จันทร์เจ้า ของ ชุติมา สุวรรณรัต ชุดา เสนีย์วงศ์ อำนวยการสร้าง ชุติมา สุวรรณรัต ดำเนินงาน ปรีชา ทรัพย์พระวงศ์ ถ่ายภาพ คุณหญิง กำกับการแสดง จากละครวิทยุชื่อดังคณะ “แก้วฟ้า” “รพีพร” สร้างบท นำโดย สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ อดุลย์ ดุลยรัตน์, เมตตา รุ่งรัตน์, สมจิตร ทรัพย์สำรวย, กัณฑรีย์ นาคประภา, ชฎาพร วชิรปราณี, ประภาศรี เทพรักษา, มนัส บุณยเกียรติ, สมพล กงสุวรรณ, ทานทัต วิภาตะโยธิน, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, หม่อมชั้น พวงวัน, ด.ญ.ชลธิชา สุวรรณรัต พร้อมด้วย นวลศรี, สมโภชน์, ชื้นแฉะ, ระเบียบ, ทองถม บริษัทกรุงเกษมภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
จุฬาตรีคูณ (2510)

เรื่องย่อ : จุฬาตรีคูณ (2510/1967) ภาพยนตร์รักอมตะสะเทือนใจ เกรียงไกร ใหญ่ยิ่ง ไม่มีอีกแล้ว ไม่ว่าเมื่อใด... จุฬาตรีคูณ จากบทประพันธ์ของ "พนมเทียน" จากละครวิทยุ คณะ "แก้วฟ้า"

อริยวรรต (มิตร ชัยบัญชา) จอมกษัตริย์แห่งแคว้นมคธ ต้องการรวมแผ่นดินชมพูทวีปให้เป็นหนึ่ง ยาตราทัพมาหยุดถึงริมฝั่งแม่น้ำคงคา เตรียมตัวข้ามไปยังกรุงพาราณสี แต่ราตรีนั้นฝันเห็นนิมิตหมาย ดารารายพิลาส (เพชรา เชาวราษฎร์) หญิงสาวสะอื้นร่ำไห้ชิงชังในความงามของตนเอง ด้วยความรุ่มร้อนพระทัยอยากพบเจอตัว จึงสั่งเลิกทัพแล้วชักชวนน้องรัก ขัตติยะราเชนทร์ (สมบัติ เมทะนี) ให้ร่วมออกเดินทางไปด้วยกัน กระนั้นด้วยความเฉลียวฉลาดของพระอนุชา ล่วงรู้ได้ว่านั่นย่อมเป็นเหตุลางร้าย พยายามขัดขวางแนะนำให้กลับไปอภิเษกสมรสพระคู่หมั้น อาภัสรา (เนาวรัตน์ วัชรา) ที่แม้จะเป็นคนรักของตน แต่พระราชบิดาทรงจัดการหมั้นหมายไว้ก่อนสวรรคต จึงมิอาจขัดคำสั่งพระทัย แต่สุดท้ายก็มิอาจขืนความดื้อด้านของราชะกษัตริย์ ยินยอมออกนำทางสู่กรุงพาราณสี พร้อมอีกหนึ่งบริวารตัวดำ (ดอกดิน กัญญามาลย์)

อริยวรรต ปลอมตัวเป็นพราหมณ์ วิพาหะ ขณะที่ ขัตติยะราเชนทร์ ปลอมเป็น กัญญะ ผู้มีเสียงเสนาะปานนกโกกิลา ทั้งสองเข้าไปถึงชานเมืองพาราณสีวันเดียวกับที่เจ้าหญิง ดารารายพิลาส ทรงหมั้นกับ กาฬสิงหะ กษัตริย์แห่งเวสาลีและเสด็จมานมัสการองค์ศิวะเทพที่เทวาลัย เมื่อนางแม่มดผู้ดูแลวิหาร เทวตี อัญเชิญเสด็จเจ้าหญิงเข้าสู่เทวาลัยใต้เงื้อมผา มีแต่เหล่าพี่เลี้ยงนางกำนัลตามเสด็จ ทันใดนั้นเกิดแผ่นดินไหวหินถล่มลงมาทับนางแม่มดและเหล่านางกำนัลตายสิ้น ส่วนเจ้าหญิงนั้น วิพาหะ เข้าไปช่วยพาตัวออกมาได้อย่างหวุดหวิด จากการช่วยชีวิตครั้งนี้ ทำให้สองสหายได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังตามคำเชิญของพระเจ้ากรุงพาราณสี

ตุ๊ดตู่ (2510)
ตุ๊ดตู่ (2510/1967) ข้อความบนใบปิด ปฏิมาภาพยนตร์ เสนอ ตุ๊ดตู่ ของ จำลักษณ์ มิตร ชัยบัญชา คู่ โสภา สถาพร ประจวบ ฤกษ์ยามดี, อดุลย์ ดุลยรัตน์, กิ่งดาว ดารณี, รุจน์ รณภพ, เมตตา รุ่งรัตน์, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, ทัต เอกทัต, สมควร กระจ่างศาสตร์, สมพล กงสุวรรณ, มาลี เวชประเสริฐ, หม่อมชั้น พวงวัน, จำรูญ หนวดจิ๋ม, ดาวน้อย ดวงใหญ่, สมพงษ์ พงษ์มิตร พร้อมด้วยดาวประดับอีกคับคั่ง สุภาพ ประจวบเหมาะ อำนวยการสร้าง เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ หวน รัตนงาม กำกับการแสดง
เจ้าแม่ปานทอง (2510)
เจ้าแม่ปานทอง (2510/1967) ข้อความบนใบปิด ว.พ.ส.บ. ภาพยนตร์ สร้าง ยอดหนังผีตื่นเต้นสุดยอด ยิ่งกว่าผีเรื่องใดใดคือ... เจ้าแม่ปานทอง บทประพันธ์ของ “ดุสิตา” นำโดย ลือชัย นฤนาท โสภา สถาพร บุษกร สาครรัตน์, โยธิน เทวราช, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, ทศ, สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต, เสริมพันธ์ สุทธิเนตร, ศิริพงษ์ อิศรางกูร, แววตา อาสาสุข, บู๊ วิบูลย์นันท์, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, สีเทา และสองดาวตลกจอแก้ว ขุนแผน ภุมรักษ์ ถนอม นวลอนันต์
แหลมหัก (2510)
แหลมหัก (2510/1967) ข้อความบนใบปิด แหลมคมดังลมเพชรหึง...!ชีวิตซึ้ง เร้าตรึงจิต ทัศนาภาพยนตร์ เสนอ แหลมหัก สุดที่รักจากจินตนาการ ของ ส.อาสนจินดา “แก้วฟ้า” สร้างบทภาพยนตร์ นำโดย มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี, อดุลย์ ดุลยรัตน์, บุศรา นฤมิตร, กิ่งดาว ดารณี, รุจน์ รณภพ, อรสา อิศรางกูร, สุพรรณ บูรณพิมพ์, สาหัส บุญหลง,สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม ดาราเกียรติยศ วงศ์ ศรีสวัสดิ์, วิน วิษณุรักษ์, ชาลี อินทรวิจิตร, เสริมพันธ์ สุทธิเนตร, สมพล กงสุวรรณ, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, หมี หมัดเม่น, พิศ อินคล้าย, แก้วฟ้า, สุเทพ เหมือนประสิทธิเวช, ดอกรัก, ทานทัต วิภาตะโยธิน, สิงห์ มิลินทราศัย ดำริห์ แหลมหลวง-เสริมพันธ์ สุทธิเนตร อำนวยการสร้าง ฉลวย ศรีรัตนา กำกับการแสดง วิเชียร วีระโชติ ถ่ายภาพ จินตนาฟิล์ม จัดจำหน่าย จากละครวิทยุฮิตของคณะ “แก้วฟ้า”
เหนือนักเลง (2510)
เพชรพญายม (2510/1967) แสงสว่างภาพยนตร์ เสนอ เป็นครั้งแรกของประวัติการณ์ภาพยนตร์ไทย ในการพบ และพิสูจน์บทบาทของยอดดารา...! สมบัติ เมทะนี พบ เกชา เปลี่ยนวิถี เพชรา เชาวราษฎร์ พบ ภาวนา ชนะจิต ใน เพชรพญายม จากบทประพันธ์และละครวิทยุของ แก้วฟ้า ทักษิณ แจ่มผล, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, เยาวเรศ นิสากร, สีเทา, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, ชาณีย์ ยอดชัย, เมืองเริง ปัทมินทร์ และ ผุสดี อนัคฆมนตรี, นิภา แก้วจำบัง ให้เกียรติร่วมแสดง สมชาย จันทวังโส ถ่ายภาพ อนุชา แสงผล อำนวยการสร้าง ประทีป โกมลภิส กำกับการแสดง
ใจนาง (2510)
ใจนาง (2510/1967) รุ้งตะวัน (เพชรา เชาวราษฎร์) ถูกอุปการะจากเจ้าของซ่องแห่งหนึ่ง ทั้งสองรักรุ้งตะวันเหมือนลูกแท้ๆที่ตายไปตั้งแต่คลอด โดยปิดบังไม่ให้รุ้งตะวันรู้สภาพที่แท้จริงของซ่อง ต่อมารุ้งตะวันได้พบกับนิรันดร์ (มิตร ชัยบัญชา) และมีใจรักใคร่กันจนตั้งท้อง พ่อแม่บุญธรรมซี่งตอนแรกพยายามขัดขวางความสัมพันธ์ของทั้งสอง จึงต้องยอมให้ทั้งคู่แต่งงานกัน แต่เมื่อรุ้งตะวันมาอยู่บ้านนิรันดร์ก็ถูกเกลียดชังจากคุณนายสายจิตแม่ของนิรันดร์ และใส่ร้ายว่ารุ้งตะวันมีชู้ นิรันดร์หลงเชื่อและขับไล่รุ้งตะวันออกจากบ้าน แต่ภายหลังความจริงก็ปรากฎขี้น อีกทั้งรุ้งตะวันยอมสละชีวิตปกป้องคุณนายสายจิต ทำให้แม่ของนิรันดร์ทราบซึ้งใจและยอมให้ทั้งสองครองชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข
คนเหนือคน (2510)
คนเหนือคน (2510/1967) โดยได้รับความร่วมมือจาก กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และ กรมตำรวจ ฟัง 4 เพลงฮิต "คนเหนือคน" "น้ำใจคนไทย" "แด่เธอผู้เดียว" "ผู้หญิงเก่ง" พันตำรวจตรีพิเชษฐ์ หรือ สารวัตรพิเชษฐ์ (มิตร ชัยบัญชา) ที่ได้รับภารกิจจาก ผู้บังคับการ (จรูญ สินธุเศรษฐ์) ให้จับคู่กับสายลับ XX ในการทลายองค์กรที่มีชื่อว่า องค์กรดอกจิก ซึ่งมาตั้งสาขาในประเทศไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหวังทำลายประเทศไทยโดยมี อดัม ชา (เกชา เปลี่ยนวิถี) เป็นหัวหน้าสาขา เมื่อพิเชษฐ์เดินทางมาถึงที่อยู่ของ XX กลับถูกกลุ่มสาวลึกลับเล่นงานกระทั่งได้รู้ความจริงว่าสายลับ XX ก็คือ ร้อยตำรวจตรีชิงชิง (ออเดรย์ ชิง) แห่งกองตำรวจลับแห่งภาคตะวันออกไกล ต่อมาพิเชษฐ์บุกเข้าไปยังฐานขององค์กรดอกจิกจนได้พบกับ อดัม ชา แต่พลาดท่าเสียทีถูกจับได้ระหว่างการต่อสู้กับ เดียร์ (ชุมพร เทพพิทักษ์) และ แมน (แมน ธีระพล) มือขวาคนสนิทของอดัมทำให้ขาดการติดต่อไป ทำให้ผู้บังคับการเกิดความกังวลใจจึงได้เรียกตัว ร้อยตำรวจเอก สมบัติ เมทะนี (สมบัติ เมทะนี) น้องชายของสารวัตรพิเชษฐ์ลงมาจากอุดรธานีให้แทรกซึมเข้าไปองค์กรเพื่อพาตัวพี่ชายออกมา โดยให้สมบัติทำทีเข้าไปตีสนิทกับ อมรา (อมรา อัศวนนท์) คนสนิทของอดัมซึ่งมี โสภา (โสภา สถาพร) ลูกสาวบุญธรรมเป็นผู้ช่วยเพื่อให้อมราพาสมบัติเข้าไปทำงานในองค์กร ขณะเดียวกันทางองค์กรได้ส่ง อดุลย์ (อดุลย์ ดุลยรัตน์) คนรักของอมราให้สะกดรอยตามชิงชิงแต่พลาดท่าถูกจับได้ซึ่งชิงชิงก็ได้กล่อมอดุลย์ให้ช่วยเป็นสายให้กับทางการเป็นผลสำเร็จโดยอดุลย์ได้ส่งมอบแผน c-10 ที่เขาชิงมาจาก ดร. หวาง (บู๊ วิบูลย์นันท์) ที่นายใหญ่ส่งมาแต่ชิงชิงก็ได้เฉลยว่าแผนที่เขาเอามานั้นเป็นของปลอมอดุลย์จึงได้รู้ความจริงว่าอดัมหักหลังเขาแแล้ว ต่อมาอมราได้พาสมบัติมาพบกับอดัมเพื่อฝากเข้าทำงานซึ่งอดัมได้ให้สมบัติทดสอบฝีมือกับ เดียร์ และ ประมินทร์ (ประมินทร์ จารุจารีต) อีกหนึ่งมือขวาของอดัมโดยสมบัติสามารถเอาชนะทั้งคู่ได้ทำให้อดัมไว้ใจสมบัติซึ่งสมบัติก็ได้แอบซ่อนกุญแจห้องขังที่ได้มาจากสมุนคนหนึ่งไว้ในกล่องข้าวทำให้พิเชษฐ์สามารถหนีรอดออกมาได้ จากนั้นอดัมได้เรียกประชุมแล้วฝากแผน c-10 ของจริงไว้ที่แมนทำให้อดุลย์ได้แอบแจ้งข่าวรวมถึงที่อยู่ของแมนแก่ตำรวจโดยพิเชษฐ์ได้บุกไปยังที่พักของแมนจนเกิดการต่อสู้และพิเชษฐ์สามารถฆ่ารวมถึงชิงแผน c-10 จากแมนได้สำเร็จทำให้อดัมต้องเปลี่ยนฐานบัญชาการรวมถึงแผนใหม่อย่าง z-40 ต่อมาอดุลย์ได้แอบส่งสัญญาณรายงานข่าวไปยังตำรวจระหว่างนั้นสมบัติเดินผ่านมาและแอบได้ยินก็ได้รู้ความจริงว่าอดุลย์เป็นสายให้ตำรวจแต่อดัมเกิดจับได้จึงสั่งให้ประมินทร์นำอดุลย์ไปขังไว้สมบัติจึงจุดพลุไฟเป็นสัญญาณให้พิเชษฐ์รวมถึงตำรวจและทหารบุกเข้าไปทลายฐานบัญชาการขององค์การดอกจิกแล้วไปจับตัวอดัมทำให้อดัมได้รู้ความจริงว่าโสภาเป็นสายให้กับตำรวจอีกคนทั้งคู่จึงจับอดัมไปขังไว้และปล่อยอดุลย์ออกมา ระหว่างนั้นอดุลย์เข้าไปต่อสู้กับเดียร์เพื่อเปิดทางให้สมบัติและโสภาหนีออกไปจนตกหน้าผาตายทั้งคู่ขณะเดียวกันอดัมได้หนีขึ้น ฮ. โดยทิ้งอมราให้ถูกจับเวลาเดียวกันชิงชิงได้นำตำรวจหญิงมาช่วยจนในที่สุดก็สามารถจับอดัมได้สำเร็จ
บ้าบิ่นบินเดี่ยว (2510)
บ้าบิ่นบินเดี่ยว (2510/1967) สมบัติ-ภาวนา ข้อความบนใบปิด สะท้านภาพยนตร์ ขอเสนอ บ้าบิ่นบินเดี่ยว ของ มรกต กำชัย นวนิยายชีวิตของลูกผู้ชาย ซึ่งเกิดมาไม่รู้จักคำว่า “แพ้” และลูกผู้หญิงแก่นแก้ว เกิดมาไม่กลัวใคร...! นำโดย สมบัติ เมทะนี ภาวนา ชนะจิต ทักษิณ แจ่มผล, เมตตา รุ่งรัตน์, ประจวบ ฤกษ์ยามดี สมชาย จันทวังโส ถ่ายภาพ ประทีป โกมลภิส กำกับการแสดง สะท้าน เทพบัญชา อำนวยการสร้าง เอกรัตน์ จัดจำหน่าย
9 เสือ (2510)
9 เสือ (2510/1967) ข้อความบนใบปิด ภควดีภาพยนตร์ เสนอ... 9 เสือ บทประพันธ์ ของ...”อรชร” จากละครวิทยุคณะ...เสนีย์ บุษปะเกศ มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ นำ อดุลย์ ดุลยรัตน์, รุจน์ รณภพ, สุมาลี ทองหล่อ, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย, สุวิน สว่างรัตน์, ประมินทร์ จารุจารีต, เมืองเริง ปัทมินทร์, สิงห์ มิลินทราศัย, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, เทียว ธารา, จรูญ สินธุเศรษฐ์, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ชูศรี โรจนประดิษฐ์ ทรงศรี เทวคุปต์ ให้เกียรติประกอบนาฏศิลป พันคำ กำกับการแสดง กรองจิตต์ เตมียศิลปิน อำนวยการสร้าง องอาจ ดำเนินงาน แสวง ดิษยวรรธนะ ถ่ายภาพ พันคำภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
นางพรายตานี (2510)
นางพรายตานี (2510/1967) มิตร-เพชรา ข้อความบนใบปิด นครินทร์ภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์ นิยายรัก อมตะสยองขวัญ เรื่องจริงที่เกิดขึ้น เมื่อ 200 ปี นางพรายตานี ของ ป.เทพวิไล นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ทัศนีย์, พีระ พีระเดช, ประมินทร์ จารุจารีต, สมพล กงสุวรรณ, อุไรรวรรณ ศิริเนตร ร่วมด้วย 18 ดาวตลกของเมืองไทย เกรียงไกร ดำเนินงานสร้าง ปานเทพ กุยโกมุท ถ่ายภาพ นครินทร์ กำกับการแสดง
เหนือเกล้า (2510)
เหนือเกล้า (2510/1967) เวก (สมควร กระจ่างศาสตร์) เศรษฐีหนุ่มใหญ่ที่แอบชอบ แก้ว (สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย) แม่หม้ายลูกติด 3 คนได้แก่ ด.ช.เกื้อ ด.ช.กร และด.ญ.กาญจน์ แก้วต้องต่อสู้ชีวิต ยึดอาชีพขายข้าวแกงหาเลี้ยงลูกน้อยๆ ตามลำพังหลังจากที่สามีเสียชีวิตไป เวกพยายามขอแก้วให้ยอมเป็นเมียกระทั่งแก้วเชื่อว่า เวกรักตนและลูกจริงๆ จึงยอมเป็นเมีย แต่สามเดือนหลังจากนั้น เวกก็เปลี่ยนไปเป็นคนละคน ทั้งดื่มเหล้า เล่นการพนัน เมื่อเมามายกลับมาก็จะดุด่าแก้ว พูดลำเลิกบุญคุณเสมอ สร้างความเจ็บช้ำให้กับแก้วและเกื้อลูกชายคนโตตลอดมา เกื้อไม่อยากให้เวกทำร้ายแม่จึงเจียดเงินที่ตนเองช้อนลูกน้ำขายได้ให้เวกไปกินเหล้าเสมอ เมื่อครอบครัวเริ่มขัดสน เกื้อ (มิตร ชัยบัญชา) จึงต้องออกจากโรงเรียนมาช่วยแม่ทำงานเพื่อหาเงินส่งน้องๆ อีก 2 คนให้ได้เล่าเรียน วันหนึ่งเวกเมากลับมาและรื้อค้นหาเงินที่แก้วซ่อนไว้ จะเอาไปกินเหล้า แต่แก้วไม่ยอม จึงเกิดการยื้อแย่งเงินกัน แก้วถูกเวกทำร้ายก่อน จึงคว้ากรรไกรแทงสวนเวกไป เวกเสียชีวิต แก้วจึงถูกศาลตัดสินจำคุก 10 ปี เกื้อกับเพื่อนต่างวัยคือ สม (ล้อต๊อก) ไม้ (สมพงษ์ พงษ์มิตร) พากันเดินทางไปหางานทำที่ภาคใต้ ระหว่างทาง เงินหมด เกื้อจึงขึ้นชกมวยกับ กระทิงดำ (อดินันท์ สิงหิรัญ) ระหว่างชก เกื้อพลาดท่า ถูกกระทิงดำชกล้ม ภาพของน้องคือ กร (ชนะ ศรีอุบล) กาญจน์ (กิ่งดาว ดารณี) ที่รอคอยเงินจากพี่ ภาพของแม่ที่ต้องติดคุก ก็ผุดขึ้นมาให้เห็น เกื้อจึงฮึดสู้และชกชนะกระทิงดำไปในที่สุด เมื่อเกื้อไปทวงเงินค่าชกกับวิเชียร (วิเชียร นีลิกานนท์) ก็ถูกปฏิเสธและเรียกกระทิงดำมาทำร้าย แต่เกื้อก็ซัดพวกนั้นมอบราบคาบ เมื่อนายหัว (สาหัส บุญ-หลง) วัลยา (เพชรา เชาวราษฎร์) ลูกสาวและดิน (ดอกดิน กัญญามาลย์) ซึ่งดูการชกของเกื้อ รู้ว่าเกื้อกับพวกกำลังหางานทำ จึงชวนไปทำงานที่เหมืองด้วยกัน ที่เหมืองนั้นมี พรชัย (พร ไพโรจน์) เป็นหัวงานคนงาน แต่พรชัยไม่ชอบเกื้อ จึงพยายามหาเรื่องกลั่นแกล้งเกื้อกับพวกเสมอ แต่นายหัว วัลยา ดินและภัทรา (สุดเฉลียว เกตุผล) ซึ่งรู้เห็นเหตุการณ์ว่า เกื้อไม่ผิด ก็คอยช่วยเหลือ สร้างความไม่พอใจให้กับพรชัยอย่างมากจึงสั่งให้โย (โยธิน เทวราช) พาสมุนมาคอยกลั่นแกล้งคนงานในเหมืองเสมอ เมื่อเกื้อรู้ข่าวว่า แม่จะพ้นโทษ จึงขอลานายหัวกลับไปหาแม่ เมื่อแม่พ้นโทษแล้วก็ไปหากรลูกชาย ซึ่งเป็นว่าที่ลูกเขยของทนายสุธรรม (อบ บุญติด) แต่กรก็ให้สุคนธ์ (สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม) พาไปหากาญจน์ลูกคนสุดท้องแทน กาญจน์เป็นดาราหนัง มีหิรัญ (ชุมพร เทพพิทักษ์) เป็นแฟน แต่กาญจน์กับหิรัญไม่อยากให้แม่อยู่ด้วย แม่แก้วจึงไปอาศัยวัดอยู่ เกื้อมาถึงและรู้ว่า แม่ถูกน้องสองคนไล่ไม่ให้อยู่ด้วย ก็โกรธและไปลากตัวน้องสองคนมาขอโทษแม่ที่วัด กาญจน์และหิรัญสำนึกผิดได้ แต่กรไม่ยอมสำนึกและพูดตัดพี่ตัดน้องกัน ดินมาส่งข่าวว่า มีพวกนักเลงบุกมาทำร้ายคนงานในเหมือง นายหัวและวัลยาต้องการให้เกื้อกลับไปช่วย เมื่อไปถึงโยกับกระทิงดำก็พาพวกมาลอบยิงคนงานอีก เกื้อไล่ตามพรชัยไป ขณะที่ต่อสู้กันนั้น กระทิงดำก็ลอบยิงพรชัยตาย เมื่อตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุ โยก็แจ้งตำรวจว่า เกื้อเป็นคนยิงพรชัยตาย เกื้อจึงถูกจับดำเนินคดี โยไปปรึกษากับทนายสุธรรมเพราะต้องการจะให้เกื้อติดคุก ทนายสุธรรมจึงให้กรเป็นพยานเท็จใส่ร้ายเกื้อ แต่เมื่อถึงวันขึ้นศาล กรก็ได้สำนึกและกลับคำให้การ ศาลจึงยกฟ้อง ทำให้โยโกรธและสั่งกระทิงดำยิงกร แต่พลาดไปถูกแม่แก้ว เกื้อกับพวกไล่ตามจับโยและกระทิงดำได้ ส่วนแม่แก้วนั้น กระสุนไม่ถูกที่สำคัญจึงรอดตาย ท่ามกลางความดีใจของลูกๆ ทั้งสามที่หันกลับมารักกันดั่งเดิม
ทะเลเงิน (2510)
ทะเลเงิน (2510/1967) ข้อความบนใบปิด เบญจมิตรภาพยนตร์ เสนอ ร่อนเร่ไปกลางทะเล เช้าฮาเย็นเฮกันกลางทะเล...! ชีวิตของชาวทะเล ผู้เกิดจากทะเล อยู่กับทะเล ตายกับทะเล! ทะเลเงิน บทประพันธ์ของ...แมน สุปิติ จากละครวิทยุคณะ กันตนา สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ ทักษิณ แจ่มผล, อดุลย์ ดุลยรัตน์, บุศรา นฤมิต, กิ่งดาว ดารณี, อภิญญา วีระขจร, อรสา อิศรางกูร, สักกรินทร์ ปุญญฤทธิ์, ชุมพร เทพพิทักษ์, โยธิน เทวราช, ประมินทร์ จารุจารีต, ถวัลย์ คีรีวัต, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, พิศ, สีเทา, ทองฮะ, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, หม่อมชั้น พวงวัน ลิขิต กฤษณมิตร ถ่ายภาพ ประทิน ลีละศร อำนวยการสร้าง ปริญญา ลีละศร กำกับการแสดง พันคำภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
Placeholder
มนต์รัก (2510/1967) มนต์รัก เป็นภาพยนตร์สี 35 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2510