มันมากับความมืด (2514)

มันมากับความมืด (2514/1971) ข้อความบนใบปิด ละโว้ภาพยนตร์ ตื่นตามาใหม่ไม่เหมือนใคร ในปี 2515 มันมากับความมืด 35 ม.ม.ซูเปอร์ซีเนมาสโคป สีอิสต์แมน สรพงศ์ ชาตรี นัยนา ชีวานันท์ ร่วมด้วย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์, ถนอม อัครเศรณี, เบญจมาภรณ์, ดามพ์ ดัสกร, พนม นพพร, คมน์ อรรฆเดช ฯลฯ จุไร เกษมสุวรรณ ถ่ายภาพ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล กำกับการแสดง หม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา อำนวยการสร้าง ละโว้ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย

 
ค่าของคน (2514)
ค่าของคน (2514/1971) ลักษณ์ (ไชยา สุริยัน) ได้รู้จักกับคุณกล้วยหรือรจเรข (พิศมัย วิไลศักดิ์) ในงานแสดงละครศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย ต่อมาคุณแขซึ่งเป็นแม่เลี้ยงของลักษณ์และเป็นแม่จริงๆ ของพิมาน (สุวัจชัย สุทธิมา) น้องชายต่างมารดาของลักษณ์ต้องการจะให้พิมานเจริญรอยรับราชการเป็นทูตอย่างท่านเจ้าพระยานฤนาทไมตรีผู้ซึ่งเป็นบิดา จึงพยายามเฟ้นหาสุภาพสตรีที่เหมาะสมให้พิมานแต่งงานด้วย แต่พิมานกลับมีใจรักให้กับคุณกล้วย หญิงที่คุณแขไม่ปรารถนาจะได้เป็นสะใภ้ คุณแขจึงขอร้องให้ลักษณ์ช่วยเหลือเรื่องนี้ ลักษณ์เป็นคนเก่งเกี่ยวกับการทำธุรกิจการค้าและจัดเจนต่อการชีวิตทั้งในด้านบวกด้านลบ ชอบเที่ยวเตร่สำมะเลเทเมาใช้เงินเป็นใหญ่ แม้คุณแขพยายามจะหาทางให้ลักษณ์แต่งงานเป็นฝั่งเป็นฝาก็ไม่เป็นผล ส่วนพิมานนั้นลักษณ์ก็รักดุจน้องชายแท้ๆ เมื่อลักษณ์ทราบความประสงค์ของคุณแขจึงรับปากจะหาทางให้คุณกล้วยพ้นไปจากเส้นทางชีวิตของพิมานเพื่อพิมานจะได้แต่งงานกับผู้หญิงที่คุณแขเลือกให้ ลักษณ์รับปากจะช่วยโดยไม่รู้มาก่อนว่า คุณกล้วยคือผู้หญิงที่ตนพบในวันแสดงละครด้วยกัน แม้ลักษณ์จะเริ่มมีความสนใจในตัวคุณกล้วยบ้าง แต่เมื่อคุณกล้วยยอมปล่อยตัวพิมานไปโดยมีเงินก้อนโตเป็นค่าตอบแทนก็ทำให้ลักษณ์คิดว่า คุณกล้วยก็เหมือนกับผู้หญิงอื่นๆ ที่เห็นแก่เงินอย่างที่เคยพบมาโดยลักษณ์ก็ไม่รู้มาก่อนว่า คุณกล้วยยอมรับเงินก้อนโตนั้นเพราะมีเหตุจำเป็นในครอบครัว อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการตัดปัญหาให้เห็นว่า คุณกล้วยได้ทิ้งพิมานไปจริงๆ จึงมีข้อตกลงว่า คุณกล้วยจะต้องจดทะเบียนสมรสกับลักษณ์ด้วยและลักษณ์จะหย่าให้ก็ต่อเมื่อพิมานได้แต่งงานกับผู้หญิงคุณแขเลือกให้แล้ว ข่าวการแต่งงานเงียบๆ ของลักษณ์กับคุณกล้วยสร้างความงุนงงให้พิมานและเพื่อนฝูงเป็นอย่างมาก ยิ่งโดยเฉพาะพิมานแล้วถึงขั้นโกรธและด่าทอคุณกล้วยว่า เห็นแก่เงินโดยไม่รับฟังเหตุผลและความจำเป็นอะไรเลย เมื่อคุณกล้วยย้ายเข้าไปอยู่ตึกใหญ่กับลักษณ์ พิมานก็ยังคงเฝ้าแวะเวียนมาหาคุณกล้วยจนทำให้ลักษณ์เกิดอาการหึงหวงอย่างเห็นได้ชัด ต่อมาลักษณ์พาเด็กหญิงมาร์กี้มาให้คุณกล้วยช่วยดูแลโดยบอกว่าเป็นลูกสาวตัวเองซึ่งเกิดจากเมียแหม่มเมื่อครั้งไปเรียนต่างประเทศ แต่ความจริงแล้วมาร์กี้ก็เป็นลูกแท้ๆ ของพิมาน คุณกล้วยก็รักใคร่เอ็นดูมาร์กี้เหมือนกับลูกตัวเอง ทำให้ลักษณ์เกิดความประทับใจในตัวคุณกล้วยเพิ่มมากขึ้น มาร์กี้มีส่วนช่วยทำให้ลักษณ์กับคุณกล้วยเข้าใจกัน รักกันมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาคุณกล้วยเริ่มตั้งท้องอ่อนๆ มาร์กี้ก็เกิดเป็นโรคร้ายและเสียชีวิตอย่างกะทันหัน พิมานเสียใจมากจึงยอมเปิดเผยความจริงว่า มาร์กี้เป็นลูกสาวตน ระหว่างที่คุณกล้วยกำลังปลอบใจพิมานนั้น ลักษณ์ก็เข้ามาเห็นพอดี จึงเข้าใจผิด โมโหและบอกว่า หลังพ้นงานศพมาร์กี้แล้วจะจดทะเบียนหย่าให้ หลังจากหย่าแล้วคุณกล้วยก็ย้ายกลับไปอยู่บ้านสวนริมคลอง ฝ่ายลักษณ์เมื่อทราบจากหมอซึ่งเป็นเพื่อนว่า คุณกล้วยตั้งท้อง ก็เสียใจที่หลงผิดคิดว่า กล้วยรักพิมาน ก็เลยตามไปง้อคุณกล้วยที่บ้านสวน
เจ้าพระยาที่รัก (2514)

เจ้าพระยาที่รัก (2514/1971) ข้อความบนใบปิด เซ้าท์อีสท์เอเซียฟิล์ม เสนอ ภาพยนตร์ชีวิตรัก มีคติ ซาบซึ้ง สะเทือนใจ มีทั้งหัวเราะ และน้ำตา และเสียงเพลง ที่จับจิตกินใจที่สุด เจ้าพระยาที่รัก THE SONG OF THAILAND ซีเนมาสโคป สีอิสต์แมน เสียงไทยในฟิล์ม 9 เพลงเอก ลูกทุ่ง/ลูกกรุง พิศมัย วิไลศักดิ์ ปริศนา ชบาไพร พนม นพพร จังเอี้ยง เหอพวง หลินจี นำแสดง สมชาย อัตตานุรักษ์ อำนวยการสร้าง หลิวต๋า กำกับการแสดง

 
ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน (2514)
ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน (2514/1971) ข้อความบนใบปิด วัฒนภาพยนตร์ โดย ไพรัช กสิวัฒน์ ผู้สร้าง น้อยไจยา-จุฬาตรีคูณ-สันกำแพง-ดิน น้ำ ลม ไฟ เสนอนวนิยายแสนฮิตจากนิตยสาร บางกอก เรื่อง ไอลดา นำขบวนดาราคับคั่งโดย... สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ เนาวรัตน์ วัชรา กังวานไพร ลูกเพชร ร่วมด้วย ชนะ ศรีอุบล, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, โสภา สถาพร, รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, สุวิน สว่างรัตน์, รุจน์ รณภพ, สังข์ทอง สีใส, สีเทา, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, รสสุคนธ์ กสิวัฒน์, ด.ช.ปรีชา เกิดกำแพง, เตือนใจ บุญพระรักษา, สมานมิตร เกิดกำแพง ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน “ไอลดา” ของ อรชร รสสุคนธ์ กสิวัฒน์-ประศักดิ์ วงศ์ศรีสกุล อำนวยการสร้าง ไพรัช กสิวัฒน์ กำกับการแสดง ศานิต รุจิรัตน์ตระกูล ถ่ายภาพ 35 สโคป นวฤทธิ์ฟิล์ม จัดจำหน่าย
แก้วขนเหล็ก (2514)
แก้วขนเหล็ก (2514/1971) เรื่องราวของ "เมฆินทร์" ผีดิบที่หลับไหลอยู่ในปราสาทได้ฟื้นคืนชีพจากการท่องมนตร์ของ "นฤดม" เจ้าของปราสาทคนใหม่ และมันได้กัดนฤดมจนทำให้เขากลายเป็นผีดิบอีกคน และต้องคอยหาเหยื่อให้เมฆินทร์ดูดเลือด จนกระทั่งเมฆินทร์ได้พบกับศัตรูเก่าที่กลับชาติมาเกิด พร้อมด้วยหญิงสาวที่เมฆินทร์เคยหมายปอง มันจะทำทุกอย่างเพื่อกำจัดศัตรูเก่าและชิงหญิงสาวมาเป็นของตน มีเพียงอาวุธอย่างเดียวที่จะหยุดผีดิบตนนีได้คือ "แก้วขนเหล็ก"
ดวง (2514)
ดวง (2514/1971) ข้อความบนใบปิด เปี๊ยกโปสเตอร์ เสนอผลงานครั้งที่ 2 ดวง นำโดย ไพโรจน์ ใจสิงห์ วนิดา อมาตยกุล นงลักษณ์ โรจนพรรณ, จิระศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ, สังข์ทอง สีใส และวงดนตรี ดิ อิมพอสสิเบิล อาทร ติวะสุรเดช อำนวยการสร้าง โสภณ เจนพานิช ถ่ายภาพ เปี๊ยกโปสเตอร์ กำกับการแสดง ธนาคารไทยพัฒนา อุปการะ อัศวินภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
คนใจเพชร (2514)
คนใจเพชร (2514/1971) ข้อความบนใบปิด นพรัตน์ภาพยนตร์ เรื่องของผู้ชายใจเพชร แต่ผู้หญิงใจเด็ดยิ่งกว่า.. คนใจเพชร ประพันธ์เรื่องและสร้างบท โดย ส.อาสนจินดา 35 ม.ม.ในระบบซีเนม่าสโคป สีธรรมชาติ เสียงในฟิล์ม สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ มานพ อัศวเทพ แสดงนำ ร่วมด้วย เมตตา รุ่งรัตน์, รุจน์ รณภพ, ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ชฎาพร วชิรปราณี, แมน ธีระพล, มานี มณีวรรณ ชุมนุมนักร้องลูกทุ่ง ชินกร ไกรลาศ, เรียม ดาราน้อย และ ขวัญจิต ศรีประจันต์ จินดา ฤทธิ์ดิเรก อำนวยการสร้าง ส.อาสนจินดา กำกับการแสดง รุจน์ รณภพ ที่ปรึกษา นพรัตน์ ศศิวิมลรักษ์ ดำเนินงานสร้าง ก้องเกียรติ อัศวินกุล ถ่ายภาพ ฉลวย ศรีรัตนา ลำดับภาพ อุดม ฤทธิ์ดิเรก อุปการะ ศิวลักษณ์ฟิล์ม จัดจำหน่าย
สุดที่รัก (2514)
สุดที่รัก (2514/1971) ข้อความบนใบปิด มนตรีกานต์ภาพยนตร์ โดย มนตรี อ่องเอี่ยม บางครั้งก็น่าเชื่อ? เมื่อวิญญาณรักที่ไร้ร่าง ยังตามรักมนุษย์ ใน... สุดที่รัก ของ วันทนีย์ เพชรา เชาวราษฎร์ เป็นสาวสองชีวิต พบ ครรชิต ขวัญประชา ด้วยชีวิตรักประหลาด พร้อมด้วย เมตตา รุ่งรัตน์, ชุมพร เทพพิทักษ์, วาสนา ชลากร, กิ่งดาว ดารณี, ล้อต๊อก, สุวิน สว่างรัตน์, เมืองเริง ปัทมินทร์, พร ภิรมย์, เทอด ดาวไท, ขวัญจิต ศรีประจันต์, จิ๋ว พิจิตร, เทียนชัย, นภาพร หงสกุล, อาภรณ์, โขน, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม สร้างเพลง 7 เพลงเอกในระบบ 35 ม.ม. โดย ไพบูลย์ บุตรขัน, เสกสรร สอนอิ่มศาสตร์, จิ๋ว พิจิตร, พร ภิรมย์ กาญจนา วิสุทธิพร อำนวยการสร้าง เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ “นันทวัต” กำกับบท “เทพา” กำกับการแสดง เสรีภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
โกรธกันทำไม? (2514)
โกรธกันทำไม (2514/1971) ข้อความบนใบปิด สีเทาภาพยนตร์ ขอมอบผลงานความสำราญ เป็นครั้งแรกจากการร่วมแรง เต็มใจช่วยของเลิศเหล่าดารา ชุมนุมกันรับบทสำคัญ ใน... โกรธกันทำไม? รักหวานชื่น ตลกเฮฮา บู๊แสนมัน นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ พร้อมด้วยดารายอดนิยมชาย-หญิงครบครันทุกแขนง... ฟัง 5 เพลงร้องไพเราะติดหู ดู 1 เพลงรำ สวยซึ้งติดตรา ภาคินี สร้างเรื่อง ลิขิต กฤษณมิตร ถ่ายภาพ สีเทา อำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง แกรนด์ฟิล์ม ผู้แทนจัดจำหน่าย
พี่สาว (2514)
พี่สาว (2514/1971) ข้อความบนใบปิด เมืองแมนภาพยนตร์ เสนอ หัวอกฟ้า น้ำตาดาว คือ พี่สาวของ...ชาวประชา ภาพยนตร์ชีวิตรัก เสียสละ สะเทือนอารมณ์ พี่สาว ของ ภราดร ศักดา ครรชิต ขวัญประชา สุทิศา พัฒนุช พบ เนาวรัตน์ วัชรา แมน ธีระพล, น้ำเงิน บุญหนัก, ประเสริฐ, ปฐมชัย ชมศรีเมฆ, อินทิรา, ก. เก่งทุกทาง ขอแนะนำดาวร้ายจิตรกร ชิต ทรายทอง วิสันต์ สันติสุชา สร้าง สมาน คัมภีร์ กำกับ พยุง จอมพิทักษ์ ถ่ายภาพ 4 เพลงเอก ระบบ 35 ม.ม. บริการพณสันต์ จัดจำหน่าย
สองฝั่งโขง (2514)
สองฝั่งโขง (2514/1971) ข้อความบนใบปิด สมนึกภาพยนตร์ เสนอ สองฝั่งโขง บทประพันธ์ของ สมผล ไชยวรรณ ครรชิต ขวัญประชา นำนางเอกใหม่ ดวงใจ หทัยกาญจน์ และนางเอกจากนครเวียงจันทน์ นงคราญ ผาสุก พบนักร้องลูกทุ่งยอดนิยม ระพิน ภูไท ทักษิณ แจ่มผล, ศศิธร เพ็ชรรุ่ง, จอมใจ จรินทร์, รุจิรา อิศรางกูร, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, โกร่ง กางเกงแดง, เมฆ เมืองกรุง สมนึก เหมบุตร อำนวยการสร้าง ทักษิณ แจ่มผล กำกับการแสดง จินตนาฟิล์ม จัดจำหน่าย
เทพบุตรจอมโกง (2514)
เทพบุตรจอมโกง (2514/1971) ข้อความบนใบปิด ศิวะภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์ชีวิต บู๊..เข้มข้น..รัก ..เสียสละ และน้ำตา เต็มไปด้วยคุณค่าและสาระยอดเยี่ยม แฉเล่ห์เหลี่ยมและกลโกง 108 ชนิดของสังคมยุคปัจจุบัน ออกมาตีแผ่.. เทพบุตรจอมโกง ครรชิต ขวัญประชา อรัญญา นามวงษ์ ภูมิ เพชรพนม, ดุจดาว เยาวนารถ, ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิพงษ์, ชลธนี กาญจนจุฑา, ม.ล.รุจิรา อิศรางกูรฯ, สมจิตร ทรัพย์สำรวย, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ล้อต๊อก, ชูศรี มีสมมนต์, ด.ญ.ตุ๊กตา จินดานุช, พิภพ ภู่ภิญโญ สมเชษฐ เตียงสกุล อำนวยการสร้าง ณัฐ อรุณฤทธิ์ กำกับการแสดง
ปานจันทร์ (2514)
ปานจันทร์ (2514/1971) ครรชิต-สุทิศา ข้อความบนใบปิด ร่วมมิตรพัฒนาภาพยนตร์ เสนอนวนิยายยอดฮิต จากนิตยสาร “บางกอก” ปานจันทร์ ของ สาเรศ สิระมนัส ครรชิต ขวัญประชา สุทิศา พัฒนุช รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, สุรินทร์ แสงขำ, เมตตา รุ่งรัตน์, อนุชา รัตนมาลย์, เยาวเรศ นิสากร, สุวิน สว่างรัตน์, มารศรี อิศรางกูร, เชาว์ แคล่วคล่อง, น้ำเงิน บุญหนัก, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, นวลศรี, เมือง อพอลโล, ศรชัย จิระศักดิ์ ดาราเกียรติยศ พันคำ ขอแนะนำดารารุ่นจิ๋ว ด.ญ.นุจรี แก้วบัวสาย, ด.ช.สมจริง จันทรโชโต สมศักดิ์-สนิท มโนรัตน์ สร้างเพลง 4 เพลง ระบบ 35 ม.ม. สุวิทย์ กรานุรักษ์-ชาญชัย พีระพล อำนวยการสร้าง เมือง อพอลโล ดำเนินงานสร้าง วิเชียร วีระโชติ-สังเวียน น้อยเจริญ ถ่ายภาพ ประวิทย์ ลีลาไว กำกับการแสดง พลสัณห์ภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
มดตะนอย (2514)
มดตะนอย (2514/1971) ข้อความบนใบปิด เพชรเกษมภาพยนตร์ เสนอ มดตะนอย ของ สุภาว์ อิทธิพร นำโดย สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ พร้อมด้วย เมตตา รุ่งรัตน์, ดรุณี ชื่นสกุล, อนุชา รัตนมาลย์, รุจิรา อิศรางกูร, มนัส บุณยเกียรติ, พรชัย, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ปราณีต คุ้มเดช และดารานักร้อง สุวัจชัย สุทธิมา เฮฮาสนุกสนานกับ 3 ดาวตลก สีเผือก, ศรีสุริยา, สังข์ทอง สีใส และผู้แสดงประกอบอีกมากมาย ฟัง 4 เพลงเอกที่แสนไพเราะ ในระบบ 35 ม.ม. ลำดวน สวนสุจริต อำนวยการสร้าง วิจารณ์ ภักดีวิจิตร กำกับการแสดง ส.อาสนจินดา สร้างบท สันทัด ศรีสัมพันธ์ ถ่ายภาพ สน่ำ สวนสุจริต ที่ปรึกษา นวฤทธิ์ฟิล์ม จัดจำหน่าย
วิมานสลัม (2514)
วิมานสลัม (2514/1971) ข้อความบนใบปิด 67 การละครและภาพยนตร์ โดย สักกะ จารุจินดา วิมานสลัม 35 ม.ม.สโคป สีอิสต์แมน นำโดย สมบัติ เมทะนี พบดาวรุ่งจอแก้ว ดวงดาว จารุจินดา สายัณห์ จันทรวิบูลย์, เมตตา รุ่งรัตน์, รอง เค้ามูลคดี, วัฒนา กีชานนท์, จรูญ สินธุเศรษฐ์, น้ำเงิน บุญหนัก วีระ ดวงพัตรา-สมโภชน์ อัครพันธ์ ถ่ายภาพ กมลา พูนประเสริฐ อำนวยการสร้าง
เพลงรักพยัคฆ์สาว (2514)
เพลงรักพยัคฆ์สาว (2514/1971) ข้อความบนใบปิด กรุงสยามภาพยนตร์ ใคร...นักเลงหน้าไหน กล้าเสนอหน้าเข้ามา เมื่อพระเอกยอดบู๊ สมบัติ เมทะนี โคจรมาพบกับนางเอกจอมบู๊ ปริศนา ชบาไพร เจ็นนี่ ฮู นางเอกยอดนิยมจากชอว์บราเดอร์ เฉินโค่ว พระเอกชื่อดังจาก คาเธ่ย์ ไป่หลิน, คังฮุย, เหยาผิง เพลงรักพยัคฆ์สาว ฟัง 7 เพลงรักสลักจิต ระบบ 35 ม.ม.ไวโอเลนธ์สโคป พร้อมด้วย แมน ธีระพล, ชุมพร เทพพิทักษ์, โขมพัสตร์ อรรถยา, ชลธนี, ทานทัต วิภาตะโยธิน, ไอลดา, แป้น ปลื้มสระไชย, พิภพ ภู่ภิญโญ, แพน บอระเพ็ด, ทวน, น้อย พยุง พยกุล กำกับการแสดง ณ กุน ศิริมิตร อำนวยการสร้าง จำลอง มกนันท์ ถ่ายภาพ ทุ่มทุนมหาศาล ถ่ายทำสามแผ่นดิน ฮ่องกง-ไทย-มาเลเซีย